Translate

ที่ดินสีคิ้ว สปกและภบท 5 ต่างกันอย่างไร?ถ้าซื้ออย่างไรดี

ทั้ง 2 อย่างคือสปก4-01 และภบท 5มันอยู่ที่ความพึงพอใจทั้งของผู้ซื้อและผู้ขายสิทธิการครอบครองไม่ใช่กรรมสิทธิเพราะเป็นของรัฐทั้ง 2 อย่างเพียงคนละหน่วยงานเพราะสปก กรรมสิทธิเป็นของ สปกจังหวัดมีการกำหนดหลักที่ให้เฉพาะเกษตรกรเท่านั้นแต่เกษตรกรใช่ว่าจะไปรอดทุกรายในการบริหารจัดการถ้าต้องการขายก็กระทำได้โดยใช้สิทธิการครอบครองในที่ดินและต้องส่งมอบ1. เอกสารสิทธิ สปก 2.ใบภบท 5(สปก)3. ใบเสร็จสีชมพูแสดงการเสียภาษีทุกปีและ ทำเอกสารส่งมอบสิทธิการครอบครองให้แก่รายใหม่ได้และอาจจะให้ทำบันทึกบุตร หลานทายาทภรรยา สามี และสัญญาเงินกู้ แนบไว้ที่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็เป็นผู้เสียภาษีเหล่านี้ในที่ดินแทนซึ่งสามารถเพิ่มชื้อของผู้ซื้อเพื่อควม(อุ่นใจ)ในช่องผู้ร่วมกรรมสิทธฺในใบภบท 5 ได้ซึ่งต้องให้ผู้ใหญ่บ้านและ อบต รับรองผู้ซื้อด้วย..ถ้าไม่ต้องการกรรมสิทธิในใบสปก ก็สามารถทำได้และเป็นการเข้าไปทำประโยชน์แทนเกษตรกรในพื้นที่นั้นๆแทน
ภบท 5 ก็เช่นกันสิทธิการครอบครองเป็นของราษฎรแต่กรรมสิทธิเป็นของกรมป่าไม้ซึ่งถ้าที่ดินอยู่ในแนวเขตมิ่นเหม่ก็ไม่ควรซื้อตรวจสอบกันก่อนเอกสารสิทธิก็มี ใบภบท 5 และใบเสร็จสีชมพู อันนี้ไม่ต้องต้องกัลวเกษตรกร มาร้องคืนแต่ต้องระวังกรมป่าไม้มาร้องถ้าไม่ใช่ที่ๆมันจัดสรรให้เพราะที่ดินของรัฐอันได้แก่
1.ที่ดินของกรมารชทัณฑ์ 2.ที่ราชพัสดุ3.ที่ดินส่วนพระมหากษัตรย์ 4.ที่ดินการนิคม 5.ที่ดินกรมป่าไม้6.การอุทยานแห่งชาติ เหล่านี้ออกเอกสารควบคุมให้ราษฏดรทำกินถือในนามของ ภบท 5ทั้งสิ้นก่อนการเข้าไปซื้อควรตรวจสอบให้เรียบร้อยเสียก่อนเพราะไม่สามาถขึ้นกรรมสิทธิได้
ดังนั้นความเสี่ยงต่างๆหรือข้อพิพาทมันขึ้นอยู่กับผู้ซื้อและผู้ขายจะพิพาทกับใครระหว่างรัฐกับราษฏร หรือ ราษฏรกับ ราษฏร (กรณี สปก)แต่ผู้ขายหักหลังไปฟ้องที่หลังแน่นอน ผู้ขาย(เจ้าของสปก)เจอคดีอาญาของสปกจังหวัดและยึดที่ดินคืนไปจัดสรรให้รายใหม่ต่อไปแต่ผู้ซื้อสามารถใช้สัญญาเงินกู้ฟ้องทางคดีแพ่งเพื่อยึดทรัพย์ต่อไป.(ชวดทั้งคู่ดังนั้นควรอยู่กันอย่างสงบด้วยกัน)..ดิฉันมีที่ดินทั้ง 2 แบบค่ะและครอบครองมานาน เจอปัญหามาเยอะได้ขายให้เพื่อนๆมาอยู่ร่วมกันและให้ทำความเข้าใจกันก่อนเพราะมันขึ้นอยู่ทั้งความพอใจและวัตถุประสงค์การเข้ามาอยู่เป็นเกษตรกรอย่างพอเพียงมีบ้านสักหลังอากาศดีมีเขาล้อมรอบจำนวนไม่มากนัก ราคาไม่แพงอย่างชาวบ้านเขาไม่เหน็เป็นไรเราก็ราษกรไทยคนหนึ่งที่ต้องการมีที่ดินที่ดีสักแปลงเพื่อการอยู่ยามชราทำไมต้องเป็นเกษตรกรอย่างเดียวอาชีพอื่นก็มีได้ถ้าเราดูรายละเอียดให้ดีลองดูข้อกฏหมายล่างล่างนี้นะคะอาจเป็นความรู้ได้บ้างไม่มากก็น้อยค่ะ


กฎหมายที่ดิน 4/5 โทร 0875092815 นุช


สิทธิครอบครอง และ การครอบครอง

ครอบครอง หรือ การครอบครอง เป็นเรื่องกิริยาของการที่บุคคล คนหนึ่งเข้ายึดถือทรัพย์1 หรือ ทรัพย์สิน2 อย่างหนึ่งอย่างใดไว้โดยหวงกัน เพื่อประโยชน์ของตน

ส่วนสิทธิครอบครองนั้นเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นทั้งตามความเป็นจริง อันเป็นผลจากการเข้ายึดถือทรัพย์ หรือทรัพย์สินอย่างหนึ่ง หรือเกิดขึ้นทั้งที่มีกฎหมายรับรองอีกอย่างหนึ่ง ในกรณีที่กฎหมายรับรองนี้ แม้ว่าบุคคลที่มีสิทธิครอบครองอยู่ตามกฎหมาย แต่ทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้นอาจอยู่ในการยึดถือของผู้อื่นก็ได้ ผู้มีสิทธิครอบครองจึงไม่จำเป็น ที่จะต้องมีทรัพย์หรือทรัพย์สินอยู่ในการยึดถือของตนตลอดเวลา เพราะอาจให้ผู้อื่นครอบครองหรือยึดถือไว้แทนตนได้

สิทธิครอบครอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๖๗ บุคคลใดยึดถือ ทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครองดังนั้น สิทธิครอบครองจึงหมายถึง สิทธิในการยึดถือหรือครอบครองทรัพย์สิน โดยเจตนาจะยึดถือหรือครอบครองเพื่อประโยชน์แห่งตน การที่จะวินิจฉัยว่าสิทธิครอบครองจะเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้น ต้องวินิจฉัยตามเหตุการณ์ข้อเท็จจริงในกิริยายึดถืออันเป็นการแสดงออกซึ่งเจตนา จะยึดถือเอาไว้เพื่อตน ประกอบกับสภาพของทรัพย์ ที่ยึดถือตามพฤติการณ์ในคดี เป็นเรื่องๆไป(ฎ.๗๒๔/๒๔๗๖) หากบุคคลใดมีสิทธิครอบครองแล้ว บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองคืนจากผู้ที่มาแย่งการครอบครองโดยมิชอบได้ภายในหนึ่งปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามมาตรา ๑๓๗๕ ซึ่งมีสิทธิได้ดอกผลในทรัพย์สินที่ครอบครองอยู่โดยสุจริต ตามมาตรา ๑๓๗๖ ประกอบมาตรา ๔๑๕ ตลอดจนมีสิทธิได้สละการครอบครองและโอนการครอบครองไปยังบุคคลอื่นตามมาตรา ๑๓๗๗-๑๓๘๐

สิทธิครอบครองเป็นสิทธิที่อยู่โดยเอกเทศได้ โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับสิทธิอื่นใด แม้สิทธิครอบครองจะเป็นสิทธิที่อาจแฝงอยู่กับทรัพยสิทธิอื่นๆ แต่ในทางตรงข้าม สิทธิครอบครองก็อาจอยู่โดยลำพัง โดยไม่ต้องพึ่งพาสิทธิอื่น

เช่นสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่า (ที่ดินที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์)สิทธิครอบครองในที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3,น.ส.3ก) สิทธิครอบครองในที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้ทำกิน(สปก.4-01 ,น.ค.1) ซึ่งสิทธิดังกล่าวทำให้เจ้าของที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง โดยยังไม่มีกรรมสิทธิในที่ดินดังกล่าว ดังนั้นที่ดินจึงอาจถูกแย่งการครอบครองได้

สำหรับที่ดินทีมีเพียงสิทธิครอบครอง ความหมายคือ ที่ดินที่ไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ แต่มีหนังสือแสดงสิทธิ์ในที่ดินอย่างอื่น

สิทธิครอบครองดังกล่าวจึงมีอำนาจเหนือทรัพย์สินในฐานะที่เป็นทรัพยสิทธิโดยเอกเทศได้ ไม่ต้องอาศัยอำนาจของกรรมสิทธิหรือทรัพยสิทธิอื่นใด แม้แต่ในกรณีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา ๑๓๐๔(1)และ(2) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งผู้ที่เข้าไปครอบครองนั้นไม่อาจอ้างสิทธิใดใด ขึ้นต่อสู้กับรัฐได้ แต่ในกรณีที่มีการพิพาทกันระหว่างราษฎร กับราษฎรด้วยกันเอง กฎหมายให้ถือว่าผู้ใดเข้าครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนผู้อื่น ผู้นั้นย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น