Translate

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเหมือนและความแตกต่างของ นส3ก กับ สปก4-01 และภบท5

นส3ก และ สปก4-01 มีความเหมือนกันและความแตกต่างกันดังนี้ซึ่งจุดเริ่มต้นของที่ดินในการเข้าครอบครองที่ดินคือ ภบท5นั่นเองซึ่งในปัจจุบันนี้หลายพื้นที่ส่วนงานของกรมที่ดินในแต่ละอำเภอได้มอบอำนาจการสำรวจและ
ขี้นทะเบียนสำรวจที่ดินที่เป็นมีทั้งโฉนด นส3ก และ สปก401และภบท5ณ ที่ทำการอบต นั้นๆๆซึ่งการควบคุมเอกสารทาง อบต จะออกเป็นใบ ภบท5 ให้พร้อมกับใบเสร็จที่เสียภาษีควบคู่กันไปทุกครั้งดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเอกสารสิทธิ์ในกรรมสิทธ์ที่ดิน ทั้ง โฉนด นส3ก สปก4-01 หรือภบท 5 เองนั้นต้องมีการควบคุมการเสียภาษีด้วยใบภบท5ด้วยกันทั้งสิ้น

โฉนด และ นส3 ก

สปก 4-01
เอกสาร สิทธิ น ส 3  และ  สปก 4-01 และ ภบท5 แตกต่างกันอย่างไร ?
น.ส.3 เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหนึ่งที่ออกตาม ป.กฎหมายที่ดิน ไม่ต้องห้ามการทำนิติกรรม ส่วน ส.ป.ก.4-01 เป็นหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งที่ดินนั้นไม่อาจออกหนังสือแสดงสิทธิตาม ป.กฎหมายที่ดินได้ เป็นหลักฐานชั่วคราว เมื่อจัดให้เช่าซื้อก็จะให้กรมที่ดินรังวัดเปลี่ยน 4-01 เป็นโฉนดที่ดินให้กับผู้เช่าซื้อต่อไป แต่เป็นโฉนดที่มีข้อจำกัดสิทธิ ข้อมูลโดย : สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ภ.บ.ท. 5 หมายถึง แบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ จะมีการสำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินของแต่ละแปลงลงในแบบ ภ.บ.ท. 5 เพื่อนำมาทำรายการคิดคำนวณค่าภาษีสำหรับใช้ในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่
กฎหมายที่ดิน ภบท5 ที่ควรรู้
ภ.บ.ท. 5 นั้นเป็นเพียงหลักฐานที่ออกตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 เพื่อสำรวจที่ดินที่มีผู้ถือครองนำมาเป็นหลักฐานในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น มิได้เป็นหลักฐานหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินที่มีเพียง ภ.บ.ท. 5 ถือเป็นที่ดินมือเปล่า การซื้อขายกระทำได้โดยการตกลงซื้อขายกันเอง โดยการส่งมอบการครอบครองต่อกัน ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ขายได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนั้นโดยเป็นเจ้าของที่ดินหรือไม่ และที่ดินที่ซื้อขายกันนั้นเป็นที่สาธารณะหรือที่สงวนหวงห้ามหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อจะต้องเสี่ยงภัยในการซื้อขายที่ดินในลักษณะนี้เอง
การนำแบบ ภ.บ.ท. 5 มาขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จะกระทำได้เป็นการเฉพาะราย หากที่ดินอยู่ในเกณฑ์ที่จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ได้ ไม่เป็นที่ต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ข้อ 14 (15) แล้ว การขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจะต้องขอออกตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่พอสรุปได้ ดังนี้

1.
ที่ดินแปลงนั้นจะต้องมีการครอบครองและทำประโยชน์มาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (คือก่อน 1 ธันวาคม 2497) ในการสอบสวนถึงการได้มา หลักฐาน ภ.บ.ท. 5 เป็นพยานเอกสารอย่างหนึ่งที่นำมาประกอบคำขอ ในการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น

2.
ที่ดินตามข้อ 1. นั้น ถ้าหากได้มีประกาศเดินสำรวจออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 58 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน จะต้องแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าไม่ได้แจ้งและเดินสำรวจไปถึงแล้วไม่นำพนักงานเจ้าหน้าที่เดินสำรวจเพื่อออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ถือว่าเจตนาสละสิทธิในที่ดิน จะมาขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอีกไม่ได้

3.
การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในกรณีนี้ จะต้องได้รับอนุมัติในหลักการเหตุผลความจำเป็นจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นการเฉพาะรายก่อน จึงจะออกให้ได้
กล่าวโดยสรุปว่าภ.บ.ท. 5 ไม่ใช่หลักฐานหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน บุคคลที่มีชื่อใน ภ.บ.ท. 5 อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน และที่ดินอาจจะเป็นที่หวงห้ามที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินให้ได้ก็อาจเป็นได้
การซื้อขายที่ดินที่มีเพียงหลักฐาน ภ.บ.ท. 5((((ผู้ขายอาจไม่ได้แจ้งว่า เป็นที่ดินประเภท ใด เช่น สปก ที่ดินของการนิคม ที่ดินของอุทยานที่ดินของกรมราชทัณฑ์ หรือที่ราชพัสดุ จึงต้องเป็นการตัดสินใจของผู้ซื้อกับวัสถุประสงค์ในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินและกำลังทรัพย์ของท่านในการตัดสินใจเช่นต้องการทำแปลงเกษตรควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์พร้อมที่อยู่อาศัยซึ่งสามรถกระทำได้ ถ้าท่านจะซื้อที่ดินที่มีหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 ท่านควรที่จะให้ผู้มีชื่อใน ภ.บ.ท. 5 ยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อพิสูจน์สิทธิเสียก่อน ว่าสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่ โดยติดต่อสอบถามที่หน่วยงานของรัฐเช่น สปก จังหวัด กรมที่ดินในพื้นที่ๆที่ดินตั้งอยู่หรือที่ดินเหล่านั้นเป็นสปก4-01 ,นส3ก ,ที่ราชพัสดุ,ที่ราชทัณฑ์,ที่ดินอุทยานแห่งชาติหรือที่ดินของสหกรณ์ การนิคมต่างๆๆ เพื่อที่ท่านจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง