Translate

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โฉนดชุมชนคืออะไร? เริ่มมาแล้วที่บ้านเรา

โฉนดชุมชนคืออะไรเราได้ยินเรื่องนี้มาหลายปีแล้วจากผู้ใหญ่บ้านว่าที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยในเขตชุมชนจะมีการออกโฉนดให้ซี่งพื้นที่ส่วนใหญ่ในตำบลดอนเมือง อำเภอสีคิ้วที่เราอยู่เป็นสปก 4-01และภบท 5 ทั้งหมดยังไม่มีโฉนดเลยวันนี้ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมและนำเจ้าหน้าที่กรมที่ดินมารังวัดที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยให้เป็นโฉนดมันเป็นนโยบาบเดียวกันกับการนำร่อง 35 จังหวัดที่เริ่มทยอยปฏิบัติกันแล้วมันจะทำให้เกษตรดีขึ้นหรือแย่ลงเราก็คือหนึ่งในชุมชนเหมือนกัน
บทวิเคราะห์เรื่องโฉนดชุมชน
ความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับเกษตรกรที่มีข้อพิพาทสิทธิที่ดินกับหน่วยงานรัฐ ด้วยการดำเนินนโยบายโฉนดชุมชน ของรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ผ่านมาดูจะเป็นนโยบายที่ก้าวหน้า และโดนใจคนจนมากที่สุดนโยบายหนึ่ง โดยเฉพาะกับกลุ่มคนจนกว่า 3 ล้านคนที่ขาดแคลนที่ดินทำกิน และรอคอยการแก้ไขปัญหามาแล้วหลายรัฐบาล
แต่พอความพยายามของนโยบายนี้เริ่มต้น กลับมีแนวโน้มว่าแนวความคิดแบบรัฐเดิมที่ต้องการรวมศูนย์อำนาจไว้เพราะไม่ไว้ใจประชาชน และมุ่งที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะส่วนเพราะไม่ต้องการให้สะเทือนถึงเสถียรภาพรัฐบาล ได้กลับกลายมาเป็นอุปสรรคในการทำงานผลักดันเรื่องโฉนดชุมชน ที่ต้องกลับมาถามรัฐบาลหนักๆ กันอีกครั้งว่า นโยบายโฉนดชุมชนยังคงมีเป้าหมายเพื่อกระจายการถือครองที่ดินและคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมอย่างที่เริ่มต้นไว้ หรือเป็นเพียงนโยบายขายฝัน ทำไว้เล็กน้อยพอเป็นน้ำจิ้ม เพื่อให้สามารถกลับมาขายฝันต่อในสมัยหน้า
การสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกรทั่วประเทศ ควรจะต้องถูกสรุปบทเรียนอย่างจริงจังจากรัฐบาล และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โฉนดชุมชนเป็นหลักคิดในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน ทั้งใน “ที่ดินชุมชน” ที่เกษตรกรมีข้อพิพาทกับรัฐเรื่องกรรมสิทธิ์ และต้องการให้รัฐรับรองสิทธิตามความชอบธรรม รวมไปถึงที่ดินเอกชนหรือที่ดินบุคคลที่เกษตรกรรายย่อยและชุมชนเมืองบางแห่ง สรุปบทเรียนแล้วว่ากรรมสิทธิ์ที่ดินปัจเจกจะทำให้ชุมชนไปไม่รอด จึงต้องการใช้ระบบกรรมสิทธิ์ร่วมเพื่อรักษาที่ดินของชุมชนไว้ ไม่ให้ถูกนำมาเก็งกำไร หรือขายต่อ
ที่ผ่านมาการที่รัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเกษตร โดยสนับสนุนระบบพืชเศรษฐกิจและพืชพลังงานแบบเอียงกระเท่เร่หันขวาเข้าหาทุนใหญ่ ได้ทำให้เกษตรกรรายย่อยและภาคเกษตรกรรมของไทยกลายเป็นภาคการผลิตที่เกือบจะต้องเรียกว่าพิการ เพราะไม่สามารถพึ่งพิงตนเองได้ ที่สำคัญ ปัจจุบันพืชเศรษฐกิจและพืชพลังงานได้ดูดกลืนผืนดินแทบทุกตารางนิ้วของพื้นที่ชนบท จนแทบจะไม่เหลือพื้นที่ไว้สำหรับระบบการผลิตพึ่งพิงตนเอง และเกษตรกรรายย่อยที่ไม่ต้องการเข้าคิวเดินเข้าสู่ระบบคอนแทรค ฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) เป็นลูกจ้างของบริษัทการเกษตรขนาดใหญ่
เมื่อรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ โดยไม่ได้แยกแยะจัดสัดส่วนให้สมดุลระหว่าง การเติบโตของภาคเศรษฐกิจเกษตรขนาดใหญ่ กับการดูแลปกป้องภาคเกษตรกรรมที่มีเกษตรกรรายย่อยกว่า 20 ล้านคนเป็นองค์ประกอบ ทำให้เกษตรกรรายย่อยแทนที่จะได้รับการสนับสนุนให้เข้มแข็งในระดับท้องถิ่น กลับถูกดูดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจส่งออก ตกเป็นเบี้ยล่างเพราะไม่เข้าใจระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ที่ทุนใหญ่สามารถกำหนดราคาส่งออก และทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำได้
การสูญเสียที่ดินและการประกาศขายที่ดินของเกษตรกรรายย่อยในชนบทจึงกลายเป็นเรื่องยิ่งกว่าธรรมดา คาดว่าสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) รับทราบปัญหานี้ดี เพราะแม้แต่พื้นที่ ส.ป.ก. ก็ถูกขายสิทธิและยากเหลือเกินที่จะตรวจสอบและเรียกคืนได้
โฉนดชุมชน เป็นภูมิปัญญาของคนเฒ่าคนแก่ในชนบทที่คิดได้แล้วว่า ที่ดินเกษตรกรรายย่อยในชนบทไทยไม่ช้าจะต้องถูกขายทอดให้เป็นของบริษัทเกษตรขนาดใหญ่ที่มีทุนมากพอ มีสายป่านยาวพอที่จะต้านทานราคาปุ๋ยยาที่สูง และราคาพืชผลที่ต่ำ ผู้รู้เหล่านี้จึงเสนอระบบกรรมสิทธิ์แบบใหม่เพื่อให้ชุมชนที่ประสงค์จะดูแลพื้นที่เกษตรในชุมชนให้เป็นพื้นที่ทำกินของเกษตรกรรายย่อยต่อไป จัดทำโฉนดชุมชนร่วมกัน เข้าใจว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลที่เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยเสนอให้รัฐบาลจัดทำโฉนดชุมชนอย่างจริงจังตามนโยบายที่กล่าวไว้
ในความหมายข้างต้นนี้โฉนดชุมชน จึงไม่ได้มีความหมายเพียงแค่ที่ดินของรัฐ แต่ยังหมายถึงที่ดินแปลงใดก็ตามที่เกษตรกรรายย่อย หรือคนในชุมชนเมือง ซึ่งประสงค์ร่วมกันจะทำโฉนดชุมชนเพื่อคุ้มครองชุมชนให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือมีระบบกรรมสิทธิ์ร่วม โดยชุมชนกำหนดเจตนารมณ์อย่างชัดเจนร่วมกันว่าไม่ต้องการที่จะขายที่ดินให้กับนายทุนข้างนอก
ทั้งนี้การที่สมาชิกชุมชนหรือองค์กรชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเจตนารมณ์การใช้ที่ดินของคนในชุมชน ยังจะสามารถก้าวไปได้ไกลถึงการสร้างเงื่อนไขที่จะทำให้สมาชิกชุมชนทำระบบการเกษตรที่ยั่งยืนและสมดุลได้อีกด้วย ขึ้นอยู่กับการทำงานร่วมกันขององค์กรชุมชน และหน่วยงานรัฐในการสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้ต่อเนื่อง
ในกรณีหากคนในชุมชนต้องการขายที่ดิน เนื่องจากมีอายุขัยเลยวัยทำการเกษตร หรือเดือดร้อนจริงๆ ก็สามารถขายที่ดินให้กับธนาคารที่ดินชุมชนได้ เพื่อให้ที่ดินได้ถูกหมุนไปสู่การใช้ประโยชน์โดยเกษตรกรรายอื่นในชุมชนต่อไป ในความหมายเช่นนี้ โฉนดชุมชนจึงมีความหมายกว้างขวางมาก ทั้งในแง่ของการรับรองสิทธิที่ดินอันชอบธรรมของเกษตรกรในที่ดินรัฐ การคุ้มครองรักษาที่ดินเอกชนให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมในชุมชนที่พร้อม การกระจายการถือครองที่ดินจากคนที่ไม่ต้องการใช้ประโยชน์ไปสู่คนที่ต้องการ และการปฏิรูประบบเกษตรกรรมไปพร้อมๆ กับการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้เกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศ รัฐบาลจึงต้องเข้าใจโครงสร้างของปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวโยงกันในภาพใหญ่ จะไม่ดีกว่าหรือ หากรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่รัฐ และถือโอกาสสร้างเงื่อนไขที่สามารถคุ้มครองรักษาพื้นที่เกษตรกรรมในที่ดินเกษตรกรทั่วไปที่มีความพร้อมได้ในคราวเดียวกัน
การทำงานของรัฐบาล ที่มุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะส่วนของเกษตรกร อาทิเช่น ปุ๋ยและยาราคาแพงต้นทุนการผลิตสูง ราคาผลผลิตต่ำไม่คุ้มทุน หนี้สินเกษตรกร การขายที่ดินให้กับนายทุน เช่าที่ดินของนายทุนและเป็นลูกจ้างทำกิน โดยละเลยโครงสร้างของปัญหาในภาพรวม น่าจะมีบทเรียนพอสมควรแล้วว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรทั้งระบบได้
ก็ได้แต่หวังว่ารัฐบาลจะมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่ดินและปัญหาภาคเกษตรกรรมซึ่งเชื่อมโยงกัน และใช้นโยบายโฉนดชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปฏิรูปที่ดินและปฏิรูปวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย ตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของคำว่าโฉนดชุมชน
สรุปสาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน:ข้อมูลอ้างอิงจากกรมที่ดิน
1. คำปรารภ เป็นการนำเสนอถึงเจตนารมณ์ของการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้ โดยที่เห็นเป็นการสมควรจัดให้มีโฉนดชุมชน เพื่อให้ประชาชนซึ่งรวมตัวกันเป็นชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลใช้ประโยชน์ในที่ดินร่วมกัน ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายการถือครองที่ดินในประเทศไทยให้ทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแล รักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล ยั่งยืน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
2. นิยามศัพท์ที่สำคัญ เป็นการกำหนดคำนิยามศัพท์ที่จำเป็นในการบังคับใช้ระเบียบนี้
"หน่วยงานของรัฐ" หมายความว่า กระทรวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ
"ที่ดินของรัฐ"
หมายความว่า ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกประเภท อาทิเช่น
ที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ที่สาธารณประโยชน์ รวมถึงที่ราชพัสดุ และที่ดินซึ่งรัฐได้มาโดยธนาคารที่ดิน
"โฉนดชุมชน" หมายความว่า สิทธิร่วมกันของชุมชนในการบริหารจัดการ การครอบครองที่ดินและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ดิน เพื่อสร้างความมั่นคงในการถือครองและใช้ประโยชน์ในที่ดินของชุมชนและเป็นการรักษาพื้นที่เกษตรในการผลิตพืชอาหาร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยการเลือกรูปแบบการผลิต ที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและระบบภูมินิเวศน์ รวมทั้งการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุล
"ชุมชน" หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อการจัดการดูแลตนเองทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และมีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้
"จังหวัด" หมายความรวมถึงกรุงเทพมหานคร
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการประสานงานและจัดโฉนดชุมชน
3. ผู้รักษาการตามระเบียบ นายกรัฐมนตรี
4. การจัดตั้ง ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการประสานงานและจัดโฉนดชุมชน" เรียกโดยย่อว่า "ปจช." ประกอบด้วย
(1) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย ประธานกรรมการ
(2) เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กรรมการ
(3) ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการ
(4) ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ
(5) ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ
(6) ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ
(7) ผู้ทรงคุณวุฒิที่ประธาน ปจช. แต่งตั้ง อีกไม่เกินหกคน กรรมการ
(8) ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการ
5. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานและจัดโฉนดชุมชน
ให้ ปจช. มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เสนอนโยบายและแผนงานในการดำเนินงานโฉนดชุมชนต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดเป็นมติคณะรัฐมนตรีในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ
(2) กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการดำเนินงานโฉนดชุมชนตามระเบียบนี้
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีความพร้อมในการดำเนินงานโฉนดชุมชนอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
(4) ตรวจสอบและพิจารณาความเหมาะสมของชุมชน ที่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐในการดำเนินงานโฉนดชุมชน ตลอดจนติดตามการดำเนินงานโฉนดชุมชนในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และยกเลิกโฉนดชุมชนที่ทำผิดเงื่อนไข
(5) ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการใดๆ ที่จำเป็นแก่การดำเนินงานจัดให้มีโฉนดชุมชนตามที่คณะกรรมการกำหนด
(6) ประสานงาน ติดตาม และตรวจสอบให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนงาน ในการดำเนินงานโฉนดชุมชน
(7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานให้ปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(8) เรียกให้หน่วยงานของรัฐส่งข้อมูล เอกสาร หลักฐานและข้อเท็จจริง หรือขอให้ส่งผู้แทนมาชี้แจงเพื่อประกอบการพิจารณาของ ปจช. หรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานที่ ปจช. แต่งตั้ง
(9) ดำเนินการหรือปฏิบัติงานอื่นใดที่เกี่ยวกับการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
6. หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโฉนดชุมชน โดยมีหลักการสำคัญ คือ
6.1 เพื่อประโยชน์ในการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแลใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐอย่างยั่งยืน ให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่มีที่ดินของรัฐพิจารณาให้ชุมชนซึ่งรวมตัวกันอาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามปีก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับมีสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐร่วมกันภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด เมื่อคณะกรรมการกำหนดให้พื้นที่ใดดำเนินการให้มีโฉนดชุมชนแล้ว ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องสั่งการให้เป็นไปตามกฎหมายโดยไม่ชักช้า
ระยะเวลาในการดำเนินงานโฉนดชุมชนตามวรรคหนึ่ง หน่วยงานของรัฐจะกำหนดเกินกว่าครั้งละสามสิบปีไม่ได้ และภายในเก้าสิบวันก่อนครบกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ ปจช. พิจารณาถึงความเหมาะสมในการให้สิทธิดำเนินงานโฉนดชุมชนต่อไป

6.2 ในการให้โฉนดชุมชนแก่ชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ต้องเป็นที่ดินของรัฐซึ่งมิได้เป็นมีการบุกรุกภายหลังจากระเบียบนี้ใช้บังคับ
6.3 ชุมชนที่มีสิทธิได้รับโฉนดชุมชนจะต้องจัดตั้งตัวแทนเป็นคณะกรรมการชุมชนขึ้นเพื่อกระทำการแทนในนามของชุมชน ประกอบด้วย กรรมการที่เลือกตั้งกันเองภายในชุมชนอย่างน้อยเก้าคน แต่ไม่เกินสิบห้าคน และให้กรรมการเลือกกันเองเป็นประธานคนหนึ่ง
หากชุมชนใดรวมตัวกันเป็นสมาคม สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือหมู่คณะอื่น ให้คณะผู้ทำการแทนทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการชุมชนตามวรรคหนึ่ง
6.4 ให้คณะกรรมการชุมชนมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้(1) จัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ขอบเขตการจัดการที่ดินของชุมชน โดยครอบคลุมถึงที่ดินส่วนบุคคล ที่อยู่อาศัย ที่ดินทำการเกษตรกรรม ที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
(2) กำหนดแผนการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการจัดการระบบการผลิต โดยคำนึงถึงการผลิตที่พึ่งพาตัวเอง และรักษาความสมดุลของระบบนิเวศน์
(3) กำหนดแผนการอนุรักษ์ การดูแลรักษาและการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ำให้ยั่งยืน
(4) กำหนดแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน
(5) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการ และการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรที่ดินหรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น รวมทั้งการควบคุมให้บุคคลในชุมชนปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว
(6) ดำเนินการให้มีการจัดตั้งกองทุนที่ดินของชุมชน เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับโฉนดชุมชน
(7) ดำเนินการหรือปฏิบัติการอื่นเกี่ยวกับการดำเนินการโฉนดชุมชนตามระเบียบนี้
6.5 ในกรณีที่มีการกระทำผิดเงื่อนไขที่ให้ไว้ของชุมชนที่ได้รับสิทธิ ให้หน่วยงานของรัฐโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจยกเลิกโฉนดชุมชนได้ โดยต้องแจ้งล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
6.6 ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามระเบียบนี้ภายในหกสิบวัน นับแต่ระเบียบนี้ใช้บังคับและในวาระเริ่มแรกให้มีการดำเนินงานโฉนดชุมชนในพื้นที่นำร่องจำนวนไม่น้อยกว่าสามสิบพื้นที่ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่ระเบียบนี้ใช้บังคับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความเหมือนและความแตกต่างของ นส3ก กับ สปก4-01 และภบท5

นส3ก และ สปก4-01 มีความเหมือนกันและความแตกต่างกันดังนี้ซึ่งจุดเริ่มต้นของที่ดินในการเข้าครอบครองที่ดินคือ ภบท5นั่นเองซึ่งในปัจจุบันนี้หลายพื้นที่ส่วนงานของกรมที่ดินในแต่ละอำเภอได้มอบอำนาจการสำรวจและ
ขี้นทะเบียนสำรวจที่ดินที่เป็นมีทั้งโฉนด นส3ก และ สปก401และภบท5ณ ที่ทำการอบต นั้นๆๆซึ่งการควบคุมเอกสารทาง อบต จะออกเป็นใบ ภบท5 ให้พร้อมกับใบเสร็จที่เสียภาษีควบคู่กันไปทุกครั้งดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเอกสารสิทธิ์ในกรรมสิทธ์ที่ดิน ทั้ง โฉนด นส3ก สปก4-01 หรือภบท 5 เองนั้นต้องมีการควบคุมการเสียภาษีด้วยใบภบท5ด้วยกันทั้งสิ้น

โฉนด และ นส3 ก

สปก 4-01
เอกสาร สิทธิ น ส 3  และ  สปก 4-01 และ ภบท5 แตกต่างกันอย่างไร ?
น.ส.3 เป็นหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินประเภทหนึ่งที่ออกตาม ป.กฎหมายที่ดิน ไม่ต้องห้ามการทำนิติกรรม ส่วน ส.ป.ก.4-01 เป็นหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งที่ดินนั้นไม่อาจออกหนังสือแสดงสิทธิตาม ป.กฎหมายที่ดินได้ เป็นหลักฐานชั่วคราว เมื่อจัดให้เช่าซื้อก็จะให้กรมที่ดินรังวัดเปลี่ยน 4-01 เป็นโฉนดที่ดินให้กับผู้เช่าซื้อต่อไป แต่เป็นโฉนดที่มีข้อจำกัดสิทธิ ข้อมูลโดย : สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ภ.บ.ท. 5 หมายถึง แบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีบำรุงท้องที่ จะมีการสำรวจรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินของแต่ละแปลงลงในแบบ ภ.บ.ท. 5 เพื่อนำมาทำรายการคิดคำนวณค่าภาษีสำหรับใช้ในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่
กฎหมายที่ดิน ภบท5 ที่ควรรู้
ภ.บ.ท. 5 นั้นเป็นเพียงหลักฐานที่ออกตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 เพื่อสำรวจที่ดินที่มีผู้ถือครองนำมาเป็นหลักฐานในการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้น มิได้เป็นหลักฐานหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินที่มีเพียง ภ.บ.ท. 5 ถือเป็นที่ดินมือเปล่า การซื้อขายกระทำได้โดยการตกลงซื้อขายกันเอง โดยการส่งมอบการครอบครองต่อกัน ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ขายได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนั้นโดยเป็นเจ้าของที่ดินหรือไม่ และที่ดินที่ซื้อขายกันนั้นเป็นที่สาธารณะหรือที่สงวนหวงห้ามหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อจะต้องเสี่ยงภัยในการซื้อขายที่ดินในลักษณะนี้เอง
การนำแบบ ภ.บ.ท. 5 มาขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จะกระทำได้เป็นการเฉพาะราย หากที่ดินอยู่ในเกณฑ์ที่จะออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินให้ได้ ไม่เป็นที่ต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ข้อ 14 (15) แล้ว การขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจะต้องขอออกตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่พอสรุปได้ ดังนี้

1.
ที่ดินแปลงนั้นจะต้องมีการครอบครองและทำประโยชน์มาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ (คือก่อน 1 ธันวาคม 2497) ในการสอบสวนถึงการได้มา หลักฐาน ภ.บ.ท. 5 เป็นพยานเอกสารอย่างหนึ่งที่นำมาประกอบคำขอ ในการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น

2.
ที่ดินตามข้อ 1. นั้น ถ้าหากได้มีประกาศเดินสำรวจออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 58 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน จะต้องแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าไม่ได้แจ้งและเดินสำรวจไปถึงแล้วไม่นำพนักงานเจ้าหน้าที่เดินสำรวจเพื่อออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ถือว่าเจตนาสละสิทธิในที่ดิน จะมาขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอีกไม่ได้

3.
การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในกรณีนี้ จะต้องได้รับอนุมัติในหลักการเหตุผลความจำเป็นจากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นการเฉพาะรายก่อน จึงจะออกให้ได้
กล่าวโดยสรุปว่าภ.บ.ท. 5 ไม่ใช่หลักฐานหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน บุคคลที่มีชื่อใน ภ.บ.ท. 5 อาจจะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน และที่ดินอาจจะเป็นที่หวงห้ามที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินให้ได้ก็อาจเป็นได้
การซื้อขายที่ดินที่มีเพียงหลักฐาน ภ.บ.ท. 5((((ผู้ขายอาจไม่ได้แจ้งว่า เป็นที่ดินประเภท ใด เช่น สปก ที่ดินของการนิคม ที่ดินของอุทยานที่ดินของกรมราชทัณฑ์ หรือที่ราชพัสดุ จึงต้องเป็นการตัดสินใจของผู้ซื้อกับวัสถุประสงค์ในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินและกำลังทรัพย์ของท่านในการตัดสินใจเช่นต้องการทำแปลงเกษตรควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์พร้อมที่อยู่อาศัยซึ่งสามรถกระทำได้ ถ้าท่านจะซื้อที่ดินที่มีหลักฐาน ภ.บ.ท. 5 ท่านควรที่จะให้ผู้มีชื่อใน ภ.บ.ท. 5 ยื่นคำขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อพิสูจน์สิทธิเสียก่อน ว่าสามารถออกเอกสารสิทธิได้หรือไม่ โดยติดต่อสอบถามที่หน่วยงานของรัฐเช่น สปก จังหวัด กรมที่ดินในพื้นที่ๆที่ดินตั้งอยู่หรือที่ดินเหล่านั้นเป็นสปก4-01 ,นส3ก ,ที่ราชพัสดุ,ที่ราชทัณฑ์,ที่ดินอุทยานแห่งชาติหรือที่ดินของสหกรณ์ การนิคมต่างๆๆ เพื่อที่ท่านจะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจในภายหลัง

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ถ้ากรุงเทพน้ำท่วมในอนาคตแล้วที่ราบสูงโคราช จะเป็นอะไร??

ช่วงนี้ภาวะโลกร้อนของเราเปลี่ยนแปลงบ่อยจากภัยภิบัติทางธรรมชาติซึ่งมีนักวิชาการหลายฝ่ายออกมาเปิดเผยข้อมูลกันมากขึ้น



 ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าฝนจะตกเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือน้ำฝนมีปริมาณไม่มากนักก็ตาม ล่าสุดนักวิชาการไทยได้นำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาคำนวณเปรียบเทียบกับข้อมูลน้ำท่วมในอดีต จนพบว่าอีกไม่เกิน 11 ปี หรือในปี 2563 คนกรุงเทพฯ จะเผชิญกับวิกฤติน้ำท่วมอย่างรุนแรง สร้างความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท ขณะที่หน่วยงานรัฐยังไม่มีนโยบายชัดเจน เพื่อรับมือน้ำท่วมครั้งใหญ่ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

 รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า หลังจากองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สหภาพยุโรป (โออีซีดี) รายงานผลการวิเคราะห์ว่าในอีกไม่นานน้ำจะท่วม 9 เมืองใหญ่ทั่วเอเชีย ได้แก่ กัลกัตตา มุมไบ ดักกา กวางสี เซี่ยงไฮ้ โฮจิมินห์ ไฮฟอง ย่างกุ้ง และกรุงเทพมหานครนั้น ศูนย์วิจัยจึงริเริ่มโครงการศึกษา "ผลกระทบและแนวทางการปรับตัวจากผลพวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อกรุงเทพฯ และปริมณฑล" ระหว่างเดือนเมษายน 2551-เมษายน 2552 โดยสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์สภาพเมืองกรุงเทพฯ และพื้นที่ข้างเคียง มีทั้งแม่น้ำเจ้าพระยา คลอง ตึกรามบ้านช่อง ฯลฯ จากนั้นนำข้อมูลระดับน้ำฝนและระดับน้ำทะเลในอนาคตที่สำรวจโดยไอพีซีซี หรือคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ไอพีซีซี) มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ ทำให้พบว่าอีก 11 ปีข้างหน้า หรือปี 2563 จะเกิดปรากฏการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คล้ายกับเหตุการณ์น้ำท่วมหนักปี 2538
 "สิ่งที่พบชัดเจนคือปกติพื้นที่กรุงเทพฯ จะรับปริมาณน้ำฝนไหลผ่านได้ไม่เกิน 2,500 ลบ.ม.ต่อวินาที ช่วงที่น้ำท่วมหนักในปี 2538 มีปริมาณน้ำฝนไหลผ่านถึง 4,200 ลบ.ม.ต่อวินาที ในแบบจำลองวิเคราะห์ว่าอีก 11 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯ จะมีน้ำฝนไหลผ่านประมาณ 4,000 ลบ.ม.ต่อวินาทีเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบปริมาณฝนตกในเขตกรุงเทพฯ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ระดับน้ำทะเลสถานีหลักปากแม่น้ำทั้ง 4 แห่ง คือ แม่กลอง ท่าจีน เจ้าพระยา และบางปะกง ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 1.3 เซนติมเตรต่อปี ขณะที่ กรุงเทพฯ ทรุดตัวประมาณ 1 เซนติเมตรต่อปี ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 3 มิลลิเมตรทุกปี ปัจจัยหลักทั้งหมดที่กล่าวมาเชื่อได้ว่าประมาณปี 2563 ชาวกรุงเทพฯ ต้องรับมือกับภาวะน้ำท่วมหนัก" รศ.ดร.เสรี กล่าว
 ยิ่งไปกว่านั้นยังพบปัจจัยเสริมอีก 4 ข้อ คือ 1.พื้นที่ชายฝั่งทะเลหายไปปีละประมาณ 10 เมตร ดังนั้นในอนาคต 50 ปีข้างหน้า ชายฝั่งจะถอยไป 500 เมตร ส่งผลให้พื้นที่บางส่วนของกรุงเทพฯ มีน้ำทะเลท่วมขัง 2.พื้นดินของกรุงเทพฯ เป็นดินอ่อน มีการทรุดตัวอยู่ตลอดเวลา คาดว่าอีก 40 ปีข้างหน้าจะทรุดต่ำลงไปอีกประมาณ 30 เซนติเมตร เช่น เขตบางกะปิทรุดตัวแล้ว 100 เซนติเมตร 3.ผลพวงจากภาวะโลกร้อน ปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 ใน 40 ปีข้างหน้า 4.พื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแนวป้องกันน้ำท่วมตามธรรมชาติถูกมนุษย์สร้างตึกหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ขวางทางน้ำไหล ทำให้น้ำท่วมขังไม่มีช่องทางระบายน้ำออกไป
 "ผลวิเคราะห์ชี้ชัดว่าทุกๆ 25 ปีจะเกิดฝนตกหนัก ทำให้กรุงเทพฯ จมน้ำ เปรียบเทียบจากปีที่ไม่มีน้ำท่วมหนัก ปริมาณน้ำฝนปกติเฉลี่ยเดือนละ 150 มิลลิเมตร แต่ปีที่น้ำท่วมหนักจะมีปริมาณน้ำฝนพุ่งสูงขึ้นไป 2-3 เท่า ประมาณ 400 มิลลิเมตรต่อเดือน เมื่อฝนตกหนักและต่อเนื่องเป็นเดือน ก็ไม่มีใครระบายน้ำได้ทัน ส่วนแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ก็เต็มล้นจนท่วมจังหวัดรอบกรุงเทพฯ มีการประเมินความเสียหายจากน้ำท่วม 2538 ว่าประมาณ 4 หมื่นล้านบาท แต่หากผลคาดการณ์นี้ถูกต้อง น้ำท่วมในปี 2563 จะสร้างความเสียหายให้กรุงเทพฯ สูงถึง 1.5 แสนล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลต้องมีนโยบายป้องกันน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่สาทร คลองเตย บางแค บางนา สาเหตุที่เปิดเผยผลการศึกษานี้ออกมาก็เพื่อให้สังคมไทยรับรู้ และเตรียมพร้อมรับมือภัยน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นในอีก 11 ปีข้างหน้า" รศ.ดร.เสรี กล่าว
 ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ วิเคราะห์ถึงระบบป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ว่าจากเดิมที่เคยออกแบบให้มีระดับความปลอดภัย 1 ใน 100 จากสภาพปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ ความปลอดภัยที่ตั้งไว้จะลดลงเหลือเพียง 1 ใน 10 หรือ 1 ใน 5 เท่านั้นเอง หมายความว่า ไทยจะต้องเผชิญเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ทุกๆ 5-10 ปี กล่าวคือเศรษฐกิจเราจะเสียหายประมาณ 4-5 หมื่นล้านบาท ในทุกๆ 5-10 ปี 
 "เมื่อข้อมูลวิเคราะห์ตรงกันว่าจะมีน้ำท่วมใหญ่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รัฐบาลประเทศอื่นเตรียมแผนการรับมือน้ำท่วมอย่างจริงจัง มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เช่นที่อังกฤษได้ปรับปรุงประตูกั้นแม่น้ำเทมส์ ส่วนใหญ่จะกังวลเรื่องน้ำทะเลท่วมซ้ำเติม โดยเนเธอร์แลนด์ทำคันดินปลูกหญ้าทับ ส่วนญี่ปุ่นมีเงินมากก็ทำเป็นกำแพงคอนกรีต สิงคโปร์สร้างคันดินยกระดับให้สูงเพิ่มอีก 1.5 เมตร สำหรับประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดรับเป็นเจ้าภาพป้องกันน้ำท่วมระดับประเทศ แม้จะมี พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2550 และคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แต่ขาดความร่วมมือ ขาดเอกภาพ งบประมาณบานปลาย สูญเสียปีละ 2 หมื่นกว่าล้านบาท เพื่อเป็นงบช่วยเหลือมากกว่าป้องกัน" ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ ระบุ
 ด้าน นายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำฝนของกรุงเทพฯ ในปีนี้ว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคม 2552 ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติถึง 1 เท่า เนื่องจากฝนตกหนักและต่อเนื่องหลายวัน โดยมีปริมาณน้ำฝน 530 มิลลิเมตร จากเดิมที่เฉลี่ยถึงเดือนพฤษภาคม จะมีเพียง 260 มิลลิเมตรเท่านั้น หากฝนยังตกต่อเนื่องทุกวันเป็นระยะๆ การระบายน้ำจะทำได้น้อย แม้ว่าจะใช้เครื่องสูบน้ำช่วยเต็มที่แล้วก็ตาม พื้นที่น่าเป็นห่วง คือ เขตหนองบอน ทุ่งครุ บางขุนเทียน และเขตทวีวัฒนา ส่วนพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณสีลม สาทร หรือสุขุมวิทนั้น ไม่น่าเป็นห่วงเพราะเป็นถนนช่วงสั้นๆ จะมีน้ำกักขังสักพักก็สามารถระบายได้หมด
 ส่วนเรื่องการพยากรณ์ว่าจะมีน้ำท่วมใหญ่ในปี 2563 นั้น นายชาญชัยยอมรับว่ามีการคาดเดาจากหลายสถาบัน แต่ก็ไม่รู้ว่าเหตุการณ์จริงจะเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามได้เตรียมป้องกันน้ำท่วมตามโครงการพระราชดำริแก้มลิง จากเดิมที่มี 20 แห่งในกรุงเทพฯ ปีนี้จะสร้างเพิ่มอีก 6 แห่ง คือ บึงสะแกงามสามเดือน บึงมะขามเทศ บึงหมู่บ้านสัมมากร บึงหมู่บ้านเมืองทองการ์เด้น บึงหมู่บ้านเมืองทอง 2/2 บึงหมู่บ้านศุภาลัย 1 รวมถึงการสร้างประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำเพิ่มเติม
ทำไม??ที่ดินในที่ราบสูงโคราชถึงมีคนเข้ามาซื้อกันเยอะ
สภาพที่ดินโดยรวมในแถบนี้จะอยู่บนที่ราบในหุบเขาส่วนใหญ่แล้วไม่อยู่ในรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่มีการขยับตัวได้แก่พื้นที่ในเขตแนวเขาใหญ่ ปักธงชัย ปากช่องและสีคิ้วซึ่งเป็นแนวเขาจากดงพญาเย็นไปบรรจบกับเนวเขาเพชรบูรณ์ตอนใต้ ระยะความสูงจากระดับน้ำทะเลเริ่มตั้งแต่ 500 เมตรถึง 1500 เมตรโดยเฉพาะที่ดินด้านหลังเขื่อนลำตะคลอง อำเภอสีคิ้วซึ่งเป็นแนวเขาที่เชื่อมต่อมาจากเขาใหญ่(ดงพญาเย็น)ข้ามพาดผ่านเขาพริก เขากระโดน หนองน้ำใส และดอนเมืองซึ่งมี่ที่ราบลุ่มและหมู่บ้านต่างๆอาศัยอยู่จำนวมมากซึ่งปัจจุบันมีการซื้อขายที่ดินกันมากรวมทั้งโรงแรมระดับ 5ดาว เช่นPositona และบ้านไร่จอมทองหริอตะวันแดงรีสอร์ทรวมทั้งโฮมเสตย์ผาบุคคาปัจจุบันราคาซื้อขายในโชนด้านนอกใกล้คลองไผ่ราคาสูงมากไร่ละ 80000-700000 บาทแล้วส่วนด้านหลังต ดอนเมืองซึ่งอยู่ท้ายสุดจะเป็นที่ดินที่สวยแต่ราคายังถูกอยู่สนใจเข้าไปดูที่ดินได้อย่างน้อยก็เพื่อมีไว้ยามที่ฉุกเฉินบ้านหลังที่สองถ้ามีกำลังพอน่าจะเตรียมไว้เพราะโลกเรามันเปลี่ยนแปลงไปไม่แน่นอน



วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายที่ดินที่ควรรู้กับเอกสารสิทธิ์ ภบท 5,สธก นสล และ สปก หมายถึงอะไร?

สิ่งแรกควรรู้ความหมายของเอกสารในที่ดินของรัฐก่อนว่ามีกี่ประเภทเพื่อก่อนที่จะเข้าไปซื้อที่ดินประเภทนี้ควรเข้าใจและต้องยอมรับความเสี่ยงได้เพราะ ที่ดินเหล่านี้จะถูกนำมาขายสิทธิการครอบครองต่อนั้นอาจจะเป็นสาเหตุเพียงเพราะเกษตรกรที่ได้รับสิทธิเหล่านี้บริหารการจัดการที่ผิดพลาดมีหนี้สินที่เกิดจากที่ดินเช่นการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ของธนาคารของรัฐ ที่ดินเหล่านี้ในการทำเกษตรกรรม ที่สะสมมานานเลยต้องการขายสิทธิการเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับมาให้แก่บุคลอื่นสามารถกระทำได้***ผู้ซื้อและผู้ขาย ควรเข้าใจเรื่องกฎหมายที่ดินสปก ด้วยเพราะหากทางสำนักงานปฏิรูปที่ดิน ทราบว่ามีการซื้อขายสิทธิกัน นั้น ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีความผิดกันทั้งคู่ในคดีอาญา โดยการให้เช่าสิทธิหรือการเข้าร่วมทำประโยชน์ร่วมกันแต่กรรมสิทธิยังคงเป็นของรัฐ  ในที่ดินประเภท ภบท 5 หากมีการครอบครองสิทธิมานานแล้ว ควรจะไปแสดงสิทธิเพื่อขอออกเอกสารสิทธิในที่ดินนั้นๆ ให้เรียบร้อยเพราะถ้าไม่ไปขึ้นสิทธิ และหากที่ดินอยู่ในเขตของป่าไม้หรืออุทยานมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกริบมาเป็นของรัฐ เพื่อปลูกป่าต่อไป โดยสามารถไปตรวจสอบสิทธิการตั้งอยู่ของที่ดินได้ที่สำนักงานปฏิรูปที่ดิน หรือสำงานกรมป่าไม้ทุกจังหวัดก่อนการตัดสินใจเข้าไปซื้อหรือดูที่ดินจะได้ไม่เสียเวลาเสียเงิน เพราะการเข้าไปครอบครองสิทธิในพื้นดินไม่ใช่กรรมสิทธิในที่ดิน


เอกสารแสดงสิทธิในที่ดินของรัฐ


เอกสารแสดงสิทธิในที่ดิน
                 ภ.บ.ท.5  แบบเสียภาษีบำรุงท้องที่  เป็นหลักฐานการเสียภาษีที่ดิน ไม่ใช่เอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแต่อย่างใด  ออกโดยที่ว่าการอำเภอและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 6 กระทรวงมหาดไทยเท่านั้นสำหรับทุกประเภทที่ดินที่อยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบล ไม่ใช่เอสารสิทธิซึ่งจะออกให้กับเอกสารสิทธิในที่ดินประเภท สปก 4-01 นส 3 ก โฉนดที่ดิน และ ภบท 5 ที่ต้องเสียภาษี เช่น ที่ดินส่วนทรัพย์พระมหากษัตริย์ ที่ดิน ราชพัสดุ ที่ดินของสหกรณ์ การเกษตร ปตุสัตว์ หรือ พื้นที่ชั่วคราวของกรมป่าไม้เป็นต้น
                ส.ท.ก.  เอกสารแสดงสิทธิทำกิน เป็นเอกสารสิทธิที่ออกโดยกรมป่าไม้ ที่ออกให้เอกชนเพื่ออนุญาตให้อาศัยและเข้าทำประโยชน์เป็นการชั่วคราวในเขตป่าไม้ ซึ่งหากที่ดินแปลงดังกล่าวไม่ได้อยู่ใน โชน ซี (เขตป่าไม้) เป็นเขตเสื่อมโทรม โซน อี อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ก็ควรไปขึ้นสิทธิที่สปก จังหวัดนั้นๆ
                น.ส.ล.  หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เป็นหนังสือแสดงสิทธิในการขอใช้ประโยชน์หรือร่วมกันใช้ที่ดินในเขตราชพัสดุหรือเขตสาธารณประโยชน์  ออกโดยกรมที่ดิน  เป็น เอกสารสิทธิแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ โดยอาจจะออกเป็นแปลงใหญ่รวมกันและระบุชื่อหน่วยงานที่ใช้ประโยชน์ไว้ได้
                ส.ป.ก.๔-๐๑ หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นหนังสือแสดงสิทธิในถือครองที่ดินและเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมออกโดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  ซึ่งผู้มีชื่อในเอกสาร ส.ป.ก.๔-๐๑ เป็นผู้มีสิทธิถือครองที่ดินและเข้าทำประโยชน์ในทีดินของรัฐในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในแปลงดังกล่าวนั้น การเสียภาษีที่องค์การบริหารส่วนตำบลจะได้รับใบ ภบท 5 แนบมาด้วยพร้อมใบเสร็จสีชมพู  ควรเข้าใจเพราะมีการอ้างสิทธิแอบขายที่ดินสปก โดยใช้เฉพาะใบภบท 5 มาเพียงอย่างเดียว
                ก.ส.น.๕ หนังสือแสดงการทำประโยชน์ในเขตนิคมสหกรณ์ เป็นหนังสือแสดงสิทธิในถือครองที่ดินและเข้าทำประโยชน์ในเขตนิคมสหกรณ์ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐ ตามพ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.๒๕๑๑ เสียภาษีที่ดินในรูปแบบ ภบท 5 แต่หากมีการยกเลิกการจัดเก็บไปก็ไม่ต้องกังวลเพราะที่ดินไม่ได้อยู่ในเขตของป่าไม้ เเป็นเขตสหกรณ์ บริหารจักดการโดยสหกรณ์ เพียงแต่การซื้อขายไม่เป็นที่รับรอง
                น.ค. ๓ หนังสือแสดงการเข้าทำประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเองเป็นหนังสือแสดงสิทธิในถือครองที่ดินและเข้าทำประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเองซี่งเป็นที่ดินของรัฐ  ตามพ.ร.บ.จัดรูปที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.๒๕๑๑  ออกโดยกรมประชาสงเคราะห์
                หนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นการชั่วคราว ตามนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นหนังสือแสดงสิทธิการอาศัยและเข้าทำประโยชน์ชั่วคราวในที่สาธารณประโยชน์ อนุญาตให้อาศัยและเข้าทำประโยชน์ได้คราวละ ๕ ปี โดย  ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนส่งเรื่องให้ สำนักงานที่ดิน


ตัวอย่าง คำพิพากษาที่แสดงถึงความแตกต่างของทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดากับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดากับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน


คำพิพากษาที่แสดงถึงความแตกต่างของทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดากับสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

                เมื่อกล่าวถึงที่ดินของรัฐ  ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าหมายถึงสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพียงอย่างเดียว  โดยไม่ได้คำนึงถึงที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาหรือที่ดินที่รัฐถือครองอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์  ดังนั้น  เพื่อให้เห็นความชัดเจนของประเภทที่ดินของรัฐ  จึงได้ศึกษาคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าที่ดินของรัฐประเภททรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดามีลักษณะที่แตกต่างจากที่ดินที่ของรัฐที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในการนำหลักกฎหมายมาใช้ในที่ดินของรัฐแต่ละประเภทต่อไป ดังนี้
-------------------------------------------------------------
1. ที่ดินของรัฐเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์จริงหรือไม่
--------------------------------------------------------------
                คำพิพากษาฎีกาที่ 1159/2511
                ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคแรกนั้น มีความหมายว่า บรรดาที่หลวงทั้งหลายซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ก็ดี หรือที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตามธรรมดาไม่ไช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ และไม่ใช่ทรัพย์ที่จะถือเอาหรือโอนกันไม่ได้เหล่าหนี้ก็ดี ถ้าไม่มีกฎหมายพิเศษได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมที่ดินดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกัน เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้...
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542
ทรัพย์สินของแผ่นดินมี 2 ประเภท คือ  ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาซึ่งเป็นของรัฐ กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งมีลักษณะสำคัญอยู่ที่ว่าใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ฉะนั้น ทรัพย์สินของแผ่นดินที่จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์สินนั้นเองว่าได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่…
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2545
ทรัพย์ของแผ่นดินจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพของตัวทรัพย์นั้นว่าราษฎรได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ….
บทวิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่กล่าวมาข้างต้น  แสดงให้เห็นว่า ที่ดินของรัฐมี 2 ประเภท  ดังนี้
(1) ที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา หรือที่ดินที่รัฐถือครองอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งมิใช่ทรัพย์
       นอกพาณิชย์
(2)  ที่ดินของรัฐที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้หรือสงวนไว้ เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน
       หรือเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์
ที่ดินของรัฐ จะเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์หรือไม่ คงต้องพิจารณาจากลักษณะสภาพของที่ดินว่ารัฐถือครองที่ดินในลักษณะใด หากที่ดินของรัฐถูกใช้หรือสงวนไว้อย่างสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็จะกลายเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์  หากที่ดินที่รัฐถือครองไว้อย่างเจ้าครองกรรมสิทธิ์ที่สามารถจำหน่าย  จ่าย โอนการครอบครองได้  ก็จะมิใช่ทรัพย์นอกพาณิชย์
------------------------------------------------------------------------------------------------
2. ที่ราชพัสดุเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน?
-------------------------------------------------------------------------------------------------
                คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824 - 825/2511
                ที่ราชพัสดุได้เคยใช้เป็นที่ปลูกสร้างโรงงานฆ่าสัตว์แต่เลิกไป ปัจจุบันใช้เป็นที่ปลูกบ้านพักนายอำเภอและโรงเก็บ
รถดับเพลิง เป็น ทรัพย์สินของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยใช้เป็นที่ปลูกสร้างสำนักราชการบ้านเมืองอัน
ราชการใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา1304(3) จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะ หรือพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 1305 เท่านั้น
และจะยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินมิได้ตามมาตรา 1306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2542
เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาปรากฏว่า ที่ดินพิพาทซึ่งบริษัท ช. ยกให้โจทก์ได้ใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนป. และเนื่องจากโจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินของโจทก์ จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ประเภทสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 130
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548
แม้ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 และ 5 ที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 และ 5 จึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ 
ดังนั้น เมื่อเทศบาลตำบลน้ำพองซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาท มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดิน จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของเทศบาลน้ำพองโดยปกติสุข เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362           
บทวิเคราะห์คำพิพากษาฎีกา
                คำพิพากษาฎีกาที่ 824 - 825/2511 ได้เกิดขึ้นก่อนมีการบังคับใช้ พ... ที่ราชพัสดุ .. 2518 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มี
กฎหมายว่าด้วยการปกครองดูแลรักษาที่ราชพัสดุให้เป็นไปโดยมีระเบียบและหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ทำให้เกิดปัญหายุ่งยาก
ในทางปฏิบัติ  เนื่องจากสาธารณสมบัติของแผ่นดินย่อมถือเป็นที่ราชพัสดุด้วยเช่นกัน
                ผลการบังคับใช้ ... ที่ราชพัสดุ .. 2518 มาตรา 4[1]  ทำให้ที่ดินของรัฐสำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อ
ประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกัน  ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 1304(1) และ(2) ไม่ใช่ที่ราชพัสดุ  แต่
สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามมาตรา 1304  (3) ยังคงถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ 
ดังนั้น  ที่ราชพัสดุที่กระทรวงการคลังมีกรรมสิทธิ์ มีทั้งที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาที่เป็นทรัพย์ใน
พาณิชย์กับสาธารสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะซึ่งเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ เช่นกัน  ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับสภาพของที่ราชพัสดุนั้น
                อย่างไรก็ตาม  ที่ดินของรัฐที่เป็นทรัพย์ของแผ่นดินในทุกประเภทตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 1307 กล่าวคือ ท่านห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้น จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่





[1] มาตรา 4  ที่ราชพัสดุ หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(2) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
          ส่วนอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลและขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ที่ดิน บ้านไร่จอมทอง: ที่ดินสีคิ้ว สปกและภบท 5 ต่างกันอย่างไร?ถ้าซื้ออย่...

ที่ดิน บ้านไร่จอมทอง: ที่ดินสีคิ้ว สปกและภบท 5 ต่างกันอย่างไร?ถ้าซื้ออย่...: "ที่ดินทั้ง 2 ประเภท คือสปก4-01 และภบท 5มันเป็นพื้นที่ ที่เป็นกรรมสิทธิของรัฐ ทั้ง 2 ประเภท  (อาจเป็นพื้นที่ในเขตของป่าไม้อยู่ หรือเป็นเขตปฎิรูปของ สปก ในจังหวัดนั้นๆ ต้องตรวจสอบสิทธิ ก่อนทุกครั้ง) การตัดสินใจซื้อ ขายสิทธิ การครอบครองเหนือพื้นดินดังกล่าว อยู่ที่ความพึงพอใจทั้งของผู้ซื้อและผู้ขายสิทธิการครอบครองที่จะต้องยอมรับความเสี่ยงในการเข้าไปใช้สิทธิหรือซื้อขายสิทธิในการครอบครองและเข้าไปทำประโยชน์ ในด้านของการเกษตรกรรมซึ่งที่ดินดังกล่าวไม่ใช่กรรมสิทธิของผู้เข้าทำประโยชน์ เพราะกรรมสิทธิในการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเป็นของรัฐทั้ง 2ประเภท ซึ่งผู้ซื้อควรเข้าใจ ในเรื่องนี้ก่อน  ทุกครั้ง เพียง เพราะผู้ครอบครองสิทธิ หรือได้รับสิทธิในการครอบครองจาก สำนักงานปฏิรูปที่ดิน เกษตรกรผู้นั้นไม่สามารถทำประโยชน์หรือบริหารการจัดการในการใช้ที่ดินที่ผิดพลาดมีหนี้สินที่เกิดจากการนำสิทธิการครอบครองไปแปลงสินทรัพย์กับธนาคารของรัฐ  อาจจะต้องการ.ขายสิทธิ เพื่อปลดภาระหนี้สินที่มีอยู่ ก็อาจกระทำได้โดย.หาผู้เข้ามาร่วมดำเนินการในการทำประโยชน์ (เชิงเกษตร)เช่นการให้เช่าสิทธิร่วมกัน แต่ไม่สามารถ ไปเปลี่ยนแปลงสิทธิที่ได้รับการจัดสรรมาจาก สปก เพราะ จะกระทำได้เพียงทายาทเท่านั้นและต้องเป็นไปเพื่อการเป็นเกษตกรเท่านั้น"ส่วนพื้นที่ที่มีการครอบครองสิทธิ ที่เป็น ภบท 5 ซึ่งถ้าพื้นที่ที่ครอบครองอยู่ในเขตชุมชน หรือในเขตเกษตรกรรม หากมีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่แล้ว ควรจะไปตรวจสอบสิทธิ ที่ดินที่ สปก จังหวัดนั้นๆ หรือสำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่ เพื่อขอขึ้นสิทธิเป็นสปก หรือ นส 3 เพื่อทำการเกษตรต่อไปแต่หากเป็นพื้นที่ที่มีความลาดเอียงเกิน 35 องศา อยู่ในเขตป่าไม้ป่าสงวน หรืออุทยาน ควรพิจารณาความเสี่ยงให้ดีเพราะ เข้าข่ายการไปบุกรุกพื้นที่ป่า.