Translate

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทุ่งกังหันลม พลังงานทดแทน และการใช้พื้นที่ สปก4-01

ไม่น่าเชื่อเลยว่าในช่วงระยะเวลาเพียง 3-4 ปีที่ผ่านมาบ้านเกิดของเราบ้าน ห้วยบง อำเภอ ด่านขุนทดนครราชสีมา ก็มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมไปสู่ทิศทางของการท่องเที่ยวเชิงวิชาการและทางธรรมชาติมากขึ้นพื้นที่ สปก4-01ด้วยความที่มีภูเขาและร่องลมที่แรงแสงแดดที่แรงนอกเหนือจากไร่มันสำปะหลังและไร่ข้าวโพดแล้วเรายังมองเหน็ทุ่กังหันลมขนาดใหญ่มหึมา 45 ต้นแรกที่กำลังก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ให้เช่าของ สปก โคราช จำนวน 45ไร่น่ายินดีกับการเติบโตที่มีทิศทางที่ดีขึ้นใช่ว่า ที่ดินสปก จะทำอะไรไม่ได้ถ้าเราเข้าใจพรบ.และข้อกำหนดที่ชัดเจนก็สามารถใช้ประโยชน์ร่วมในพื้นที่ได้ที่ผ่านมาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญอีกหน่วยงานหนึ่งในการพัฒนาพลังงานทดแทนด้วยพลังงานลม โดยอนุญาตให้เอกชนเช่าพื้นที่ติดตั้งกังหันลมในเขตสปก.แล้วจำนวน 4 โครงการ และมีเอกชนสนใจยื่นข้อเสนอขอเช่าพื้นที่สปก.อีก 2 โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่ในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดนครราชสีมา
ข่าวจากสยามธุรกิจนายสมปอง อินทร์ทอง รองเลขาธิการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” ว่า พลังงานทดแทนที่ได้จากพลังงานลมถือว่าเป็นพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมามีเอกชนหลายรายแสดงความจำนงขอใช้พื้นที่สปก. ติดตั้งกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้า เมื่อสปก. พิจารณาแล้วเห็นว่าเกิดประโยชน์และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจึงได้อนุญาตให้เช่าพื้นที่แล้วจำนวน 4 โครงการ และมีอีก 2 โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณา

“การพิจารณาให้เช่าพื้นที่สปก. ต้องคำนึงว่าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ใช้ประโยชน์อยู่หรือไม่ ถ้าเป็นพื้นที่เกษตรกรรมอยู่เราก็ไม่อนุญาตให้ทำ เพราะเรามีหลักว่ากิจกรรมที่ทำแล้วต้องเกิดประโยชน์ โปร่งใส ถ้าทำแล้วจะมีผลกระทบตาม มาอย่างไรบ้าง เกิดมลพิษหรือไม่ และถ้ารักษาพื้นที่ไว้จะเกิดความคุ้มค่าอย่างไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราเอามาคิดประกอบการพิจารณาทั้งหมด เพราะถ้าหากธรรมชาติ เปลี่ยนเปลงไปต้องมีคนรับผิดชอบคือ สปก.และเอกชนเจ้าของโครงการ แต่ถ้าได้ประโยชน์มากกว่าก็ให้ทำไปเลย”

สำหรับพื้นที่สปก.ที่ได้ทำสัญญากับเอกชนผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลมส่งขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประกอบด้วย บริษัท เค อาร์ ทู จำกัด ได้เช่าที่ดินในพื้นที่ตำบลห้วยบง อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 58 แปลง เนื้อที่ประมาณ 47 ไร่ บริษัท เฟิร์ส โคราช วินด์ จำกัด อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เช่าที่ดินจำนวน 50 แปลง เนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ มีกำหนดระยะเวลาเช่า 25 ปี

บริษัท เทพสถิต วินด์ ฟาร์ม จำกัด เช่าที่ดินในพื้นที่ตำบลบ้านไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 39 แปลง เนื้อที่ประมาณ 38 ไร่ มีกำหนดระยะเวลา 25 ปี เพื่อดำเนินโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยกังหันลม

นอกจากนี้ ที่ผ่านมาที่ประชุมคปจ.ชัยภูมิ ได้พิจารณาจัดที่ดินให้บริษัท เทพธนา วินด์ ฟาร์ม จำกัด เข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ตำบลวะตะแบก อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 6 แปลง เนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ เพื่อดำเนินกิจการโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยกังหันลม ซึ่งต่อมาทางสปก.ได้ทำสัญญากับบริษัทดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลา 27 ปี

“ที่ตั้งอำเภอเทพสถิตเป็นพื้นที่ภูเขาสูงมีร่องกระแสลมแรง จึงมีเอกชนหลายรายสนใจเข้าไปติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานลม รวมถึงที่จังหวัดเลยก็มีลมแรงเช่นกัน แต่ยังไม่มีเอกชนแสดงความจำนงมา แต่ถ้ายื่นมาแล้วเข้ากับหลักเกณฑ์ระเบียบเกี่ยวเนื่องปี 2541 ก็จะอนุญาตให้เช่าพื้นที่ได้เลย”

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทางกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพลังงานได้ลงนาม MOU เพื่อส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในพื้นที่สปก. เพราะเล็งเห็นว่าในอนาคตน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจะต้องหมดไป จึงต้องเตรียมความพร้อมในการจัดหาพลังงานทดแทน อีกทั้งพลังงานดังกล่าวเป็นพลังงานสะอาด ลดต้นทุนผลผลิตได้ดี จึงควรสนับสนุน ผู้ประกอบการหันมาให้ความสนใจทางด้านนี้

“ที่ผ่านมาผู้ที่สนใจใช้พื้นที่สปก. ไม่มีเฉพาะนักลงทุนพลังงานลมเท่านั้น แต่นักลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ก็ติดต่อเข้ามาขอใช้พื้นที่เช่นกัน แต่เนื่องจากการสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ต้องใช้พื้นที่มากถึง 100 ไร่ขึ้นไปถึงจะคุ้มค่า ซึ่งติด ขัดกับกฎหมายไม่เอื้ออำนวย เพราะการใช้พื้นที่เกี่ยวเนื่องบุคคลจะขอได้ไม่เกิน 50 ไร่ จึงไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในพื้นที่สปก. แต่อย่างใด”