Translate

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

"สปก.ปฎิรูปเพื่อใคร?เพื่ออะไร? กับ พรบ. การปฏิรูปที่ดินพ.ศ 2518 ควรแก้ไขสอดคล้องกับสถานการณ์การเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ปัจจุบัน จริงหรือ??

นับแต่มีกฎหมายปฏิรูปที่ดินเมื่อปี 2518 มาถึงวันนี้เป็นเวลา 36 ปีแล้ว การออก สปก.4-01 ก็ยังไม่เสร็จสิ้น ยังจะต้องออกกันต่อไป จนกว่าจะครบถ้วนเต็มพื้นที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งสำนักงานปฏิรูปที่ดินก็ได้ดำเนินการอย่างแข็งขันตลอดมาทุกยุคทุกสมัย

เพราะไม่ว่านักการเมืองจะพูดเรื่อง สปก.4-01 หรือไม่พูด สำนักงานปฏิรูปที่ดินก็ยังคงทำหน้าที่ของตนอย่างต่อเนื่องตามอำนาจหน้าที่เหมือนเดิม

ในขณะเดียวกัน สำนักงานปฏิรูปที่ดินก็ได้เล็งเห็นปัญหาพื้นฐานที่สุดของกฎหมายปฏิรูปที่ดิน และได้ตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการทำการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายปฏิรูปที่ดินมาโดยลำดับ ทำต่อเนื่องกันมานับสิบปีแล้ว จนบัดนี้ก็ยังปรับปรุงแก้ไขไม่ได้เลยแม้แต่มาตราเดียว

รัฐบาลแทบทุกยุคทุกสมัยก็เห็นปัญหา และพยายามแก้ปัญหา แม้ในยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย ซึ่ง ส.ส. ส่วนใหญ่ก็เห็นพ้องต้องกันว่าจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมาย สปก. เพราะหากเป็นอยู่เช่นนี้ คนไทยในเขตปฏิรูปที่ดินก็จะกลายเป็นทาสติดที่ดิน และแผ่นดิน สปก. จะกลายเป็นแผ่นดินทาสแทนที่จะเป็นแผ่นดินทอง 
แต่แม้จะพยายามผลักดันกันสักเท่าใด ทุกยุคทุกสมัยก็ไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขกฎหมายปฏิรูปที่ดินได้เลย เพราะติดกำแพงกระแสการเมือง ซึ่งไม่รู้ว่ามาจากไหน
เพราะเมื่อสมัยพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาลก็กลัวกระแส จึงแก้ไขไม่สำเร็จ มาคราวนี้พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ก็คงกลัวกระแสและแก้ไขไม่สำเร็จอีก ในที่สุดเวรกรรมทั้งหลายก็จะตกได้แก่ประชาชนในเขตปฏิรูปที่ดินตลอดไปชั่วกัลปาวสาน 
ต้องเข้าใจก่อนว่าที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นไม่ใช่ที่ป่า เพราะที่ป่าคือเขตอุทยานแห่งชาติ เขตป่าอนุรักษ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ เขตต้นน้ำลำธาร หรือวนอุทยานทั้งหลายทั้งปวง อยู่ในความรับผิดชอบดูแลของกรมป่าไม้และกรมอุทยาน ซึ่งพิทักษ์หวงแหนที่ดินนั้นสุดชีวิตจิตใจ ไม่มีทางที่จะยอมยกให้ใครโดยง่าย คงเหลือแต่การดูแลรักษาไม่ให้ถูกบุกรุกแผ้วถางเท่านั้น

ส่วนที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งเป็นคนละส่วนกับที่ป่านั้นมีอยู่สามลักษณะ คือ 
หนึ่ง ที่ดินที่เป็นบ้านเป็นเมืองเป็นชุมชนเต็มรูปแบบมาแต่ก่อน แล้วถูกประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินทั้งตำบลหรือทั้งอำเภอ

สอง ที่ดินที่เป็นไร่สวนของราษฎรที่ครอบครองทำกินกันมาแต่ครั้งบรรพบุรุษ แล้วถูกประกาศให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ครอบคลุมไปทั้งตำบลและอำเภอ และ

สาม ที่ดินป่าเสื่อมโทรมที่ราษฎรปกครองทำประโยชน์หมดสภาพป่าและไม่สามารถฟื้นสภาพป่าได้อีก กรมป่าไม้ กรมอุทยาน กรมการปกครอง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนเห็นพ้องต้องกันแล้ว จึงเสนอเป็นลำดับชั้นให้คณะรัฐมนตรีลงมติให้โอนที่ดินดังกล่าวไปให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินนำไปดำเนินการออกสปก. 4-01

ที่ดินทั้งสามลักษณะนี้จึงไม่ใช่ที่ป่าตามที่พูดกัน แต่เป็นที่ซึ่งพึงออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่ราษฎรเพื่อให้เป็นหลักทรัพย์ ให้เป็นทุนรอน และเปิดโอกาสให้สามารถลงทุนทำกิจการใด ๆ ได้

แต่ปรัชญาทางกฎหมายของกฎหมายปฏิรูปที่ดินเป็นไปเสียอีกทางหนึ่ง คือมีหลักการสำคัญอยู่ 2 ประการ ที่เป็นอุปสรรค กระทั่งมีลักษณะวิปริตผิดนิติปรัชญาโดยทั่วไป คือ

ประการแรก มีบทบังคับว่าที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ จะใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น

ลองนึกดูเถิดว่าถ้าพื้นที่ใดทั้งตำบลหรือทั้งอำเภอต้องปลูกแต่มันสำปะหลัง มีตลาด ร้านค้า โรงเรียน โรงพยาบาล ปั๊มน้ำมัน โรงแรม หรือโรงพยาบาล หรือธนาคารไม่ได้เลยแล้ว สังคมหรือชุมชนนั้นจะอยู่ได้อย่างไร และอาชีพเกษตรกรรมมันทำให้คนไทยร่ำรวยสุดวิเศษหรือ? จึงต้องบังคับให้ต้องทำแต่เกษตรกรรม ซึ่งรู้กันอยู่ว่านี่คือปมปัญหาความยากจนของคนไทยที่ยังแก้ไขไม่ตกอยู่ในขณะนี้

ลองนึกดูเถิดว่าประชาชนทั้งตำบลหรือทั้งอำเภอที่เขาทำอาชีพมากมายหลายอาชีพ แล้วถูกบังคับให้เลิกอาชีพเหล่านั้น หันไปทำอาชีพเกษตรกรรม ใครเขาจะยินยอม?

ประการที่สอง ผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน สปก. จะต้องเป็นคนยากจน ซึ่งเคยได้รับการตีความว่าระดับของความยากจนนั้นหมายถึงไม่มีทรัพย์สินใด ๆ ยกเว้นแต่จอบและเสียม หากมีฐานะดีกว่านี้ แม้แค่มีบ้านสักหลังหนึ่ง มีรถกระบะสักคันหนึ่ง ก็ไม่ใช่คนยากจนตามความหมายของกฎหมายนี้ จะไม่มีคุณสมบัติที่จะอยู่อาศัยในแผ่นดินนี้อีกต่อไป

ในวันนี้ผู้คนที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหลากหลายอาชีพและมีหลากหลายฐานะ ทั้งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ยากจนถึงขนาดที่มีแต่จอบและเสียม จึงขาดคุณสมบัติที่จะได้รับ สปก.4-01 ดังนั้นหยิบยกเรื่อง สปก.4-01 ขึ้นเมื่อใด ไม่ว่าโดยฝ่ายไหนจึงเป็นเรื่องฮือฮาได้ทุกครั้ง และก็เจ็บตัวกันถ้วนทั่วทุกครั้งเหมือนเดิม

เพราะเวลานี้ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน รวมทั้งผู้ที่อยู่นอกวงทางการเมืองในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ล้วนมีคุณสมบัติไม่ครบเงื่อนไขทั้งสองข้อนี้ทั้งสิ้น 
     ดังนั้นปมปัญหาแท้จึงอยู่ที่นิติปรัชญาของกฎหมายปฏิรูปที่ดินที่จะต้องได้รับการแก้ไขเพื่อให้แผ่นดินประเทศไทยมีราคา ให้ราษฎรได้เป็นเจ้าของสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินและฐานะของราษฎรเหมือนกับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีโฉนดที่ดิน ซึ่งจะสร้างรายได้ให้แก่รัฐจากค่าธรรมเนียมอีกด้วย 
    
จึงมีแต่ต้องดำเนินรอยตามพระบรมราโชบายของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ที่ทรงพระราชทานโฉนดที่ดินแก่พสกนิกรของพระองค์ เพื่อให้มีฐานันดรหรือเรียลเอสเตท (Real Estate) เช่นเดียวกับชาวยุโรป.

การแก้ไขปัญหาที่ดินสปก หรือการแก้ไขปัญหาการรุกพื้นที่ป่าที่มีกันมายาวนานแต่เพิ่งจะมาจัดการขั้นเด็ดขาดในขณะที่ปล่อยให้พื้นที่หลายๆๆแห่งในประเทศไทยนี้มันเปลี่ยนแปลงไปแล้วสิ่งที่ทุกฝ่ายควรกระทำ  ไม่ใช่ว่า ลงดาบฟันธง..จัดการขั้นเด็ดขาด...ควรหันหน้าเข้าหากันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น เกษตรกร นายทุน กรมป่าไม้ สปก รัฐบาล ควรหามาตรการที่แก้ไขที่ทำให้ทุกๆๆฝ่ายไม่เสียประโยชน์และที่สำคัญผลประโยชน์ชาติโดยรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมก็ไม่สูญเสีย มันเป็นการวางระบบการจัดการการปฏิรูปที่ดินให้เกษตรกรและควร ขยายความของคำว่า " เกษตรกร " ให้กว้างขึ้นเพราะประเทศเราไม่ได้มีรายได้เพียงแค่การเกษตรเชิงเดี่ยวเช่นการปลูก พืชไร่ เพียงอย่างเดียว มีการเกษตร ที่เราสามารถกำหนดแนวทางและวิธีการเพื่อให้การท่องเที่ยวของประเทศเราดีขึ้น  ไม่สายหรอกค่ะ เรามานั่งคุยกันวางแนวทางที่ทั้งรัฐและราษฎร ไม่ต้องกลัว กับ กฎหมายบางข้อที่เขียนแล้วมันขัดแย้งกับการปฎิบัติ ผังการจัดการป่าไม้ของประเทศเราที่ไม่มีการวางระบบในแต่เริ่มแรกทุกอย่างรอให้เกิดปัญหาแล้วแก้ไข ..ปฏิรูปที่ดินให้เกษตรกร  เพื่ออะไร??
เราลองมาอ่านพรบ.การปฎิรูปที่ดินของรัฐเพื่อเกษตรกรรมเพื่อทำ...ความเข้าใจประดับความรู้และประเมินจากสภาพความเป็นจริงกันในขณะที่ที่ดินแถบจังหวัดนครราชสีมาที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเช่น วังน้ำเขียว เขาใหญ่ ปากช่องหรือที่ดินที่ติดชายทะเลชายหาดที่สวยงามทั่วประเทศไทยที่มีการซื้อขายกันครึกโครมล้วนเป็นที่ดินที่เพื่อการปฎิรูปเพื่อเกษตรกรรมทั้งสิ้นทั้งหลายทั้งปวงขึ้นอยู่ว่า มุมมองของผู้ที่ต้องการมีที่ดินเพื่อะไร?และต้องการทำอะไร?ในขณะเดียวกันที่ผู้ขายเองก็ต้องเปิดใจที่จะคุยกันและไม่หลอกลวงกันเพราะกฎหมายมันก็คือกฎหมายทุกอย่างมันขึ้นอยู่ที่ความพึงพอใจแล้วล่ะกับการที่ต้องการมีที่ดินไว้สักแปลง

พระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ.2518"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช กิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้ว ในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราช บัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้
  • "การปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" หมายความว่า การปรับปรุงเกี่ยวกับ สิทธิและการถือครองในที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รวมตลอดถึงการจัดที่อยู่อาศัย ในที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้นโดยรัฐนำที่ดินของรัฐ หรือที่ดินที่รัฐจัดซื้อหรือเวน คืนจากเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นด้วยตนเอง หรือมีที่ดินเกิน สิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อจัดให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินของตนเองหรือ เกษตรกรที่มีที่ดินเล็กน้อย ไม่เพียงพอแก่การครองชีพและสถาบันเกษตรกรได้ เช่าซื้อ เช่าหรือเข้าทำประโยชน์โดยรัฐให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาอาชีพ เกษตรกรรมการปรับปรุงทรัพยากรและปัจจัยการผลิต ตลอดจนการผลิตและ การจำหน่ายให้เกิดผลดียิ่งขึ้น
  • "เขตปฎิรูปที่ดิน" หมายความว่า เขตที่ดินที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเป็น เขตปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  • "ที่ดินของรัฐ" หมายความว่า บรรดาที่ดินทั้งหลายอันเป็นทรัพย์สินของ แผ่นดินหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และ ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ อนุมัติให้บุคคลเข้าอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่ง ชาติ
  • "เจ้าของที่ดิน" หมายความว่า ผู้มีสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
  • "เกษตรกรรม" หมายความว่า การทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • "เกษตรกร" หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และ ให้ความรวมถึงบุคคลผู้ยากจนหรือผู้จบการศึกษาทางเกษตรกรรม หรือผู้เป็น บุตรของเกษตรกร บรรดาซึ่งไม่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นของตนเองและ ประสงค์จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กำหนดในพระราชกฤษฎีกาด้วย
  • "สถาบันเกษตรกร" หมายความว่า กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร ชุมชนสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  • "การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม" หมายความว่า การเช่าหรือการเช่า ช่วงโดยได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซึ่งที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ว่าการ เช่าหรือเช่าช่วงนั้นจะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวม ถึงการยินยอมให้ใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยได้รับค่าเช่าที่ดิน และการทำ นิติกรรมอื่นใดเพื่อเป็นการอำพรางการเช่าดังกล่าว
  • "ค่าเช่าที่ดิน" หมายความว่า ผลิตผลเกษตรกรรม เงินหรือทรัพย์สินอื่น ใดซึ่งเป็นค่าตอบแทนการเช่าที่ดิน และหมายความรวมถึงประโยชน์อื่นใดอัน อาจคำนวณเป็นเงินได้ที่ผู้ให้เช่าที่ดิน หรือบุคคลอื่นได้รับเพื่อตอบแทนการให้ เช่าที่ดินทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม
  • "เจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเอง" หมายความว่า เจ้า ของที่ดินผู้ซึ่งดำเนินการผลิตด้านเกษตรกรรม โดยเป็นผู้ลงทุนและได้ผล ประโยชน์จากการผลิตนั้นโดยตรงและไม่เป็นผู้ให้เช่าที่ดินนั้น
  • "บุคคลในครอบครัวเดียวกัน" หมายความว่าคู่สมรสและผู้สืบสันดานที่ยัง ไม่บรรลุนิติภาวะ
  • "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
  • "คณะกรรมการ"หมายความว่าคณะกรรมการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  • "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ มาตรานี้ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า "เกษตรกร" และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทนโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 3 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจาฯ เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษา การตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่กับออกกฎ กระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ แต่ละกระทรวง
กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา 6 ให้จัดตั้งสำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขึ้นใน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้เรียกโดยย่อว่า ส.ป.ก.
มาตรา 7 ให้ส.ป.ก.เป็นทบวงการเมือง มีฐานะเทียบเท่ากรม โดยมี เลขาธิการสำนักงานการปฎิรูปที่ดินเป็นหัวหน้าสำนักงาน
มาตรา 8 ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตร กรรมตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 9 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนการปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมในกระทรวงการคลังประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตาม มาตรา 10 เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายเพื่อการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
รายได้ที่ ส.ป.ก.ได้รับจากการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้นำส่งเข้า บัญชีกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้ แผ่นดิน
การใช้จ่ายเงินของกองทุนการปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมให้กระทำได้ เฉพาะการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความ เห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
ให้กระทรวงการคลังเก็บรักษาเงินของกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตร กรรม และเบิกจ่ายเงินจากกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อใช้จ่าย ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 10 กองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประกอบด้วย
  1. เงินที่ได้รับจากงบประมาณแผ่นดิน
  2. เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับจากรัฐบาลหรือจากแหล่งต่างๆ ภายใน ประเทศหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือบุคคลอื่น
  3. เงินที่ได้รับจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
  4. ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆที่ ส.ป.ก. ได้รับเกี่ยวกับการ ดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
มาตรา 11 เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินตาม มาตรา 25 ใช้บังคับในท้องที่จังหวัดใดแล้ว ให้จัดตั้งสำนักงานการปฎิรูปที่ดินจังหวัด ขึ้นสังกัดสำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยให้มีอำนาจหน้าที่ใน การดำเนินการปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมตามที่คณะกรรมการและคณะ กรรมการปฎิรูปที่ดินจังหวัดกำหนด
ในกรณีที่ได้กำหนดเขตปฎิรูปที่ดินเขตหนึ่งเขตใดคลุมที่ดินในเขตของสอง จังหวัดขึ้นไป คณะกรรมการจะมอบหมายให้สำนักงานการปฎิรูปที่ดินจังหวัดใด มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมตลอดเขตปฎิรูปที่ดินนั้นก็ ได้ไม่ว่าจะมีสำนักงานการปฎิรูปที่ดินในจังหวัดที่เกี่ยวข้องนั้นหรือไม่ ให้สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม มาตรา 6 ทำหน้าที่สำนัก งานการปฎิรูปที่ดินกรุงเทพมหานครด้วย
มาตรา 12 ให้มีคณะกรรมการปฎิรูปี่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ ปลัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดี กรมป่าไม้ อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมส่งเสริมการ เกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรม ประชาสงเคราะห์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อธิบดีกรมธนารักษ์ อธิบดี กรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ประธานคณะกรรมการกลางกลุ่มเกษตรกรแห่ง ประเทศไทย และประธานชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยเป็นกรรม การและกรรมการอื่นอีกไม่เกินเก้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้แทน เกษตรกรหกคนและผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินสามคน ให้เลขาธิการสำนักงานการ ปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ
เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินตาม มาตรา 25 ใช้บังคับ ในท้องที่กรุงเทพมหานครแล้ว ให้คณะกรรมการทำหน้าที่คณะกรรมการ ปฎิรูปที่ดินจังหวัดสำหรับกรุงเทพมหานครด้วย
หมายเหตุ ความเดิมในมาตรานี้ได้ยกเลิกไป และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทนโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 5 ซึ่งประกาศในราชกิจจาฯ เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 13 ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม มาตรา 12 และ มาตรา 13 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการ ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว ยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่ เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้
มาตรา 14 ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตาม มาตรา 12 และ มาตรา 13 มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการ ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว ยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่ เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการอีกได้
มาตรา 15 กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญา กับ ส.ป.ก.หรือในกิจการที่กระทำให้แก่ ส.ป.ก. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม
มาตรา 16 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตาม มาตรา 14 วรรคหนึ่งกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
  1. ตาย
  2. ลาออก
  3. คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่มีอำนาจแต่งตั้ง แล้วแต่กรณี ให้ออก
  4. มีลักษณะต้องห้ามตาม มาตรา 15
มาตรา 17 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อย กว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มาตรา 18 การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 19 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการ กำหนดนโยบาย มาตรการ ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการ ปฎิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. ตลอดจนการควบคุมการบริหารงานของ ส.ป.ก. รวมทั้งอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
  1. จัดหาที่ดินของรัฐ เพื่อนำมาใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  2. พิจารณากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินตาม มาตรา 25 การจัดซื้อหรือเวนคืน ที่ดินตาม มาตรา 29 และการกำหนดเนื้อที่ที่ดินที่จะให้เกษตรกร หรือสถาบัน เกษตรเช่าระยะยาว หรือเช่าซื้อตาม มาตรา 30
  3. พิจารณาการกำหนดแผนผัง และการจัดแบ่งแปลงที่ดินในเขตปฎิรูป ที่ดิน
  4. พิจารณาอนุมัติแผนงาน และโครงการการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตร กรรมตลอดจนงบค่าใช้จ่ายของ ส.ป.ก.เสนอรัฐมนตรี
  5. พิจารณากำหนดแผนการผลิต และการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม ในเขตปฎิรูปที่ดินเพื่อยกระดับรายได้ และคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกร
  6. พิจารณากำหนดแผนการส่งเสริม และบำรุงเกษตรกรรมในเขต ปฎิรูปที่ดินรวมทั้งการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ปรับปรุงประสิทธิภาพในการ ผลิตและคุณภาพผลิตผลเกษตรกรรมตลอดจนสวัสดิการ การสาธารณูปโภค การศึกษาและการสาธารณสุขของเกษตรกร
  7. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการคัดเลือกเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรซึ่งจะมีสิทธิได้รับที่ดินจากการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนแบบสัญญาเช่าและเช่าซื้อที่จะทำกับเกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดิน
  8. กำหนดระเบียบการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดิน จากการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน และปฏิบัติตามแผนการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรม
  9. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบัน เกษตรกรในเขตปฎิรูปที่ดินกู้ยืมจากส.ป.ก.ตลอดจนเงื่อนไขของการกู้ยืมโดย อนุมัติรัฐมนตรี
  10. กำหนดระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตร กรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมตลอด จนการควบคุมดูแลกิจการอื่น ๆ ภายในเขตปฎิรูปที่ดิน
  11. ติดตามการปฏิบัติงานของ ส.ป.ก.ให้เป็นไปตามแผนงานและ โครงการที่ได้รับอนุมัติ ตลอดจนกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จากการปฏิบัติงาน
  12. กำหนดกิจการและระเบียบการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน ของ ส.ป.ก.หรือสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ของการปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม
มาตรา 20 ให้คณะกรรมการปฎิรูปที่ดินจังหวัดมีอำนาจหน้าที่และความรับ ผิดชอบในการกำหนดมาตรการ และวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฎิรูปที่ดิน จังหวัดและให้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้
  1. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการและค่าใช้จ่ายของ สำนักงานการปฎิรูปที่ดินจังหวัด เพื่อเสนอคณะกรรมการ
  2. ติดตามการปฏิบัติงานของสำนักงานการปฎิรูปที่ดินจังหวัดให้เป็นไป ตามแผนงานและโครงการที่ได้รับอนุมัติตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
  3. พิจารณาผลการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงแผนงาน โครงการ งบค่า ใช้จ่ายและวิธีปฏิบัติงานของสำนักงานการปฎิรูปที่ดินจังหวัด
  4. จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายตามโครงการการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตร กรรมแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินและกิจการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการปฎิรูป ที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมตามระเบียบหรือข้อบังคับหรือมติของคณะกรรมการหรือ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
  6. วางระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของสำนักงานการ ปฎิรูปที่ดินจังหวัดเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับระเบียบ หรือข้อบังคับหรือมติของคณะ กรรมการ
มาตรา 21 ให้คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฎิรูปที่ดินจังหวัดอำนาจ แต่งตั้งอนุกรรมการคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆหรือปฏิบัติ งานอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการปฎิรูปที่ดินจังหวัด มอบหมาย
การประชุมของอนุกรรมการ ให้นำความใน มาตรา 17 มาใช้บังคับโดย อนุโลม
มาตรา 22 ภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี ให้ รัฐมนตรีประกาศรายงานรับจ่ายเงินของ ส.ป.ก. ในราชกิจจานุเบกษา รายงานการรับจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง เมื่อคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอรัฐสภาทราบ
มาตรา 23 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการประกอบ เกษตรกรรม หรือการทำประโยชน์หรือกิจการอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ใน ที่ดินในเขตปฎิรูปที่ดินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก และให้ แสดงบัตรประจำตัวต่อผู้ที่เกี่ยวข้องให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองที่ดินหรือผู้ที่ เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
บัตรประจำตัวให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราช กิจจานุเบกษา
มาตรา 24 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ อนุกรรมการ เลขาธิการ สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รองเลขาธิการสำนักงานการปฎิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญา
มาตรา 25 การกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ใดให้เป็นเขตปฎิรูปที่ดินให้ตรา เป็นพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้มีแผนที่แสดงเขตและระบุท้องที่ที่ อยู่ในเขตปฎิรูปที่ดินแนบท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นด้วย แผนที่ดังกล่าวให้ถือเป็น ส่วนหนึ่งแห่งพระราชกฤษฎีกา
"การกำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฎิรูปที่ดินตามวรรคหนึ่ง ให้กำหนด เฉพาะที่ดินที่จะดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็น จะถือเขตของตำบลหรืออำเภอเป็นหลักก็ได้ โดยให้ดำเนินการกำหนดเขต ปฎิรูปที่ดินในเขตท้องที่อำเภอที่มีเกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินประกอบเกษตรกรรมเป็น ของตนเอง หรือมีที่ดินเล็กน้อยไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดิน ของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนที่มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ เป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับความสำคัญในการกำหนดเขตก่อนหลัง ในกรณีที่ถือ เขตของตำบลหรืออำเภอเป็นเขตปฎิรูปที่ดินนั้น ให้หมายถึงเฉพาะที่ตั้งอยู่นอก เขตเทศบาลและสุขาภิบาล"
ให้ดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชักช้า และให้ดำเนินการ สำรวจที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และวางโครงการเพื่อดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมในท้องที่ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรให้เสร็จภายในสามปีนับแต่วัน ที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
หมายเหตุ ความเดิมในวรรคสามนี้ได้ยกเลิกไป และให้ใช้ความต่อไป นี้แทนโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 6 ซึ่งประกาศในราชกิจจาฯ เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 25ทวิ ถ้าที่ดินที่ ส.ป.ก.ได้มาเป็นแปลงเล็กแปลงน้อยและมิได้ อยู่ในเขตปฎิรูปที่ดินให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดที่ดินนั้นให้กับเกษตรกรหรือสถาบัน เกษตรกรได้ตาม มาตรา 30 เสมือนว่าเป็นที่ดินในเขตปฎิรูปที่ดิน โดยไม่ต้อง ดำเนินการกำหนดเขตที่ดินในท้องที่นั้นให้เป็นเขตปฎิรูปที่ดิน มาตรา 25
หมายเหตุ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 25ทวิ โดย พ.ร.บ.แก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 7 ซึ่งประกาศในราชกิจจาฯ เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 26 เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินใช้บังคับใน ท้องที่ใดแล้ว
  1. ถ้าในเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ พลเมืองใช้ร่วมกันแต่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น หรือได้เปลี่ยนแปลง สภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันก็ดี หรือพลเมืองยังใช้ ประโยชน์ในที่ดินนั้นอยู่หรือยังไม่เปลี่ยนสภาพจากการเป็นที่ดินสำหรับพลเมือง ใช้ร่วมกันเมื่อได้จัดที่ดินแปลงอื่นให้พลเมืองใช้ร่วมกันแทน โดยคณะกรรมการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ดี ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูป ที่ดินนั้นมีผล เป็นการถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับที่ดิน ดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการถอนสภาพตามประมวลกฎหมายที่ดิน และให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
  2. ถ้าในเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีที่ดิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ หรือที่ดินที่ได้สงวนหรือหวง ห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ เมื่อกระทรวงการคลังได้ให้ความ ยินยอมแล้วให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีผลเป็นการถอนสภาพ การเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สำหรับที่ดินดังกล่าวโดยมิต้องดำเนินการ ถอนสภาพตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุและให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมา ใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้
  3. ถ้าในเขตปฎิรูปที่ดินนั้นมีที่ดิน อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่ง เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็น ของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดินและที่ดินนั้นอยู่นอกเขตป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีให้ ส.ป.ก.มีอำนาจนำที่ดินนั้นมาใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมได้
  4. ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ ดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก.จะนำที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตร กรรม ให้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวน แห่งชาติ
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตาม(4) ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราช บัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ และมีอำนาจในการให้เช่าที่ดินอันเป็นป่าสงวนแห่ง ชาติดังกล่าวได้ และให้ค่าเช่าที่ได้มาตกเป็นของกองทุนการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม
หมายเหตุ ความเดิมใน มาตรานี้ได้ยกเลิกไป และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทนโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 8 ซึ่งประกาศในราชกิจจาฯ เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 27 เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินใช้บังคับใน ท้องที่ใดแล้ว ภายในเขตปฎิรูปที่ดิน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงาน ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
  1. เข้าไปทำการอันจำเป็นเพื่อการสำรวจรังวัดได้แต่ต้องแจ้งให้เจ้า ของหรือผู้ครอบครองที่ดินทราบเสียก่อน
  2. ทำเครื่องหมายขอบเขต หรือแนวเขตโดยปักหลักหรือขุดร่องแนว ในกรณีที่ต้องสร้างหมุดหลักฐานการแผนที่ในที่ดินของผู้ใด ก็ให้มีอำนาจสร้าง หมุดหลักฐานลงได้ตามความจำเป็น
เมื่อมีความจำเป็นและโดยสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจขุดดิน ตัด รานกิ่งไม้ และกระทำการอย่างอื่นแก่สิ่งที่กีดขวางการสำรวจรังวัดได้เท่าที่ จำเป็น ทั้งนี้ให้คำนึงถึงการที่จะให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ได้รับความเสียหายน้อยที่สุด
ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน และผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก ตามสมควร
มาตรา 28 ภายในระยะเวลาสามปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนด เขตปฎิรูปที่ดินตาม มาตรา 25 ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายด้วยประการใดๆ หรือก่อให้เกิดภาระติดพันใด ๆ ซึ่งที่ดินในเขตปฎิรูปที่ดิน เว้นแต่ได้รับอนุญาต เป็นหนังสือจากคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมาย
ในกรณีที่ ส.ป.ก.จัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้น ถ้ามีการกระทำ อันเป็นการฝ่าฝืนความในวรรคหนึ่ง และเป็นทรัพย์สินหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดความ เสียหายหรือกีดขวางการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่ง ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ ครอบครองที่ดินทำการรื้อถอนเสียได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าเจ้าของ หรือผู้ครอบครองที่ดินไม่ปฏิบัติตาม ให้คณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการ มอบหมาย มีอำนาจดำเนินการรื้อถอนโดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ดังกล่าวจะเรียกร้องค่าเสียหายมิได้ และต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนนั้นด้วย
มาตรา 29 ในเขตปฎิรูปที่ดิน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นว่า ที่ดิน บริเวณใดสมควรดำเนินการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ ส.ป.ก.มีอำนาจ จัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินได้ ดังต่อไปนี้
(1) ที่ดินแปลงเดียวหรือหลายแปลงมีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าห้าสิบไร่ ซึ่ง บุคคลในครอบครัวเดียวกันไม่ว่าคนหนึ่ง หรือหลายคนเป็นเจ้าของที่ดินผู้ ประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองให้ส.ป.ก.มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวน คืนที่ดินส่วนที่เกินกว่าห้าสิบไร่
(2) ถ้าที่ดินดังกล่าวใน (1) มีเนื้อที่รวมกันเกินกว่าหนึ่งร้อยไร่ และ เจ้าของที่ดินผู้ประกอบเกษตรกรรม ด้วยตนเองใช้เพื่อการเลี้ยงสัตว์จำพวก สัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดชนิด จำนวน และเงื่อนไขในราชกิจจา นุเบกษาให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่เกินกว่า หนึ่งร้อยไร่
ถ้าเจ้าของที่ดินรายใด มีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วย ตนเองในที่ดินเกินกว่าตามที่กล่าวไว้ใน (1) หรือ (2) และแสดงได้ว่าตน ได้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าที่กล่าวไว้ใน (1) หรือ (2) อยู่แล้วไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และแสดงได้ว่าตน มีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็นประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบคำร้อง เพื่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะกรรมการ ถ้าคณะกรรมการเห็น สมควรอนุญาตก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการอนุญาตเสนอรัฐมนตรีพิจารณา หาก รัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป แต่ต้อง ไม่เกินหนึ่งพันไร่ ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือ ดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้น เพื่อใช้ในการปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมต่อไป
ในกรณีที่เจ้าของที่ดินรายใด ได้แสดงว่าตนได้ประกอบเกษตรกรรมใน ที่ดินด้วยตนเองเกินกว่าหนึ่งพันไร่อยู่แล้ว ไม่ต่ำกว่าหนึ่งปีก่อนวันที่พระราช บัญญัตินี้ใช้บังคับ และมีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วยตนเองใน ที่ดินนั้นต่อไป ให้คณะกรรมการพิจารณาตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้
  • ได้ลงทุนในกิจกรรมเกษตรในที่ดินนั้นไปแล้วเป็นจำนวนมากและการ ลงทุนนั้นได้กระทำไปด้วยการส่งเสริมของรัฐ
  • เป็นการประกอบการเพื่อพัฒนาวิทยาการเกษตรแผนใหม่ หรือที่ยังมี ความต้องการอยู่มากมายในประเทศหรือเพื่อการส่งออก
  • ในการที่จะประกอบกิจการได้ต่อไปนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยพัฒนาการ เกษตร และช่วยเหลือเกษตรกรในด้านปัจจัยการผลิตเพื่อส่งเสริมผลผลิตการ เกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรได้อย่างกว้างขวางในเรื่องการสาธิตและ เป็นตลาดรับซื้อผลิตผลเกษตรกรรมจากเกษตรกรโดยตรง
  • เมื่อพ้นสิบห้าปี หากสถาบันเกษตรกรมีความต้องการและสามารถที่ จะเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการนั้น เจ้าของที่ดินต้องยินยอมให้สถาบันเกษตรกรถือหุ้น ในกิจการนั้นไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของจำนวนหุ้นทั้งหมดทั้งนี้ ให้เป็นไปตาม วิธีการและรายละเอียดที่คณะกรรมการกำหนด
ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้กำหนดเงื่อนไขในการ อนุญาตเสนอรัฐมนตรีพิจารณา หากรัฐมนตรีเห็นชอบก็ให้อนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้น มีสิทธิในที่ดินนั้นต่อไป ในกรณีที่ผู้ร้องขอได้รับสิทธิในที่ดิน ดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดซื้อ หรือดำเนินการเวนคืนที่ดินที่ได้รับเพิ่มขึ้นนั้น เพื่อใช้ในการปฎิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป
(3) ที่ดินแปลงใดถ้าเจ้าของไม่ได้ใช้ที่ดินประกอบเกษตรกรรมด้วย ตนเองหรือมิได้ใช้ประกอบเกษตรกรรมอย่างใดหรือประกอบเกษตรกรรมเล็ก น้อย หรือประกอบเกษตรกรรมบางส่วนเพียงเป็นการแสดงสิทธิในที่ดิน ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นได้ในส่วนที่เกินกว่ายี่สิบ ไร่
ถ้าเจ้าของที่ดินตาม (3) มีความประสงค์จะประกอบเกษตรกรรมด้วย ตนเอง และแสดงได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินนั้นให้เป็น ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้ทั้งตน จะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้น ด้วยตนเอง ให้ยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิง ประกอบคำร้อง เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สอบสวนแล้ว ให้รายงานต่อคณะ กรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุญาตให้ผู้ร้องขอนั้นมี สิทธิในที่ดินต่อไป ตามขนาดใน (1) หรือ (2)แล้วแต่กรณี และให้คณะกรรม การกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต ในกรณีผู้ได้รับสิทธิในที่ดินดังกล่าวไม่ปฏิบัติ ตามเงื่อนไข ให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดซื้อหรือดำเนินการเวนคืนที่ดินนั้นเพื่อใช้ ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป
"ในการรับซื้อที่ดินตาม มาตรานี้ ถ้าเจ้าของที่ดินประสงค์จะขายที่ดินของ ตนให้ทั้งหมด ก็ให้ ส.ป.ก.มีอำนาจจัดซื้อได้"
บทบัญญัติใน มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ที่ดินบรรดาที่เป็นของทบวงการเมือง องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สถาบันเกษตรกร หรือที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
หมายเหตุ มาตรานี้ให้เพิ่มความในวรรคสามต่อไปนี้ โดย พ.ร.บ.แก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 9 ซึ่งประกาศในราชกิจจาฯ เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 30 บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก.ได้มา ให้ส.ป.ก. มีอำนาจจัดให้เกษตรกร หรือสถาบันเกษตรกรได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและ เงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ตามขนาดการถือครองในที่ดินดังกล่าว ต่อไปนี้
  1. จำนวนที่ดินไม่เกินห้าสิบไร่สำหรับเกษตรกรและบุคคลในครอบครัว เดียวกัน ซึ่งประกอบเกษตรกรรมอย่างอื่นนอกจากเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ตาม (2)
  2. จำนวนที่ดินไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ สำหรับเกษตรกรและบุคคลในครอบ ครัวเดียวกัน ซึ่งใช้ประกอบเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ใหญ่ตามที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด
  3. จำนวนที่ดินที่คณะกรรมการเห็นสมควร สำหรับสถาบันเกษตรกร ทั้งนี้โดยคำนึงถึงประเภทและลักษณะการดำเนินงานของสถาบันเกษตรกรนั้นๆ
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นการจัดให้เกษตรกร และเป็นที่ ดินที่คณะกรรมการกำหนด มิให้มีการโอนสิทธิในที่ดินก็ให้จัดให้เกษตรกรเช่า ในกรณีอื่นให้จัดให้เกษตรกรเช่า หรือเช่าซื้อตามที่เกษตรกรแสดงความจำนง ถ้าเป็นการจัดให้สถาบันเกษตรกรให้จัดให้สถาบันเกษตรกรเช่า
บรรดาที่ดินที่ ส.ป.ก.ได้มา ถ้าเป็นที่ดินของรัฐและมีเกษตรกรถือครอง อยู่แล้วเกินจำนวนที่กำหนดในวรรคหนึ่งก่อนเวลาที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อ เกษตรกรดังกล่าวยื่นคำร้องและยินยอมชำระค่าเช่า หรือค่าชดเชยที่ดินใน อัตราหรือจำนวนที่เพิ่มขึ้น ตามที่คณะกรรมการกำหนด สำหรับที่ดินส่วนที่เกิน ตามวรรคหนึ่งให้คณะกรรมการจัดที่ดินให้เกษตรกรเช่าหรือจัดให้ แล้วแต่กรณี ตามจำนวนที่เกษตรกรถือครองได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งร้อยไร่ ในการกำหนดอัตราค่าเช่าหรือค่าชดเชยที่ดินดังกล่าว ต้องคำนึงถึงระยะ เวลาและวิธีการที่เกษตรกรได้ที่ดินนั้นมา ความสามารถในการทำประโยชน์ ประเภทของเกษตรกรรม และการทำประโยชน์ที่ได้ทำไว้แล้วในที่ดินนั้น
ในการจัดที่ดินให้เกษตรกรตามวรรคสามถ้าเกษตรกรได้เข้าครอบครอง ที่ดินดังกล่าวก่อน พ.ศ.2510 ให้เรียกเก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมในการโอน และรังวัด และค่าปรับปรุงพัฒนาที่ดินที่ ส.ป.ก.ดำเนินการให้ตามจำนวนที่ คณะกรรมการกำหนด เฉพาะส่วนที่ไม่เกินห้าสิบไร่
นอกจากการจัดที่ดินให้แก่บุคคลตาม (1) (2) และ (3) ให้ ส.ป.ก. มีอำนาจจัดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลใดเช่า เช่าซื้อ ซื้อหรือเข้าทำ ประโยชน์ เพื่อใช้สำหรับกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการ ปฎิรูปที่ดินตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนดใน ราชกิจจานุเบกษาได้ ทั้งนี้ ตามขนาดการถือครองในที่ดินที่คณะกรรมการเห็น สมควรซึ่งต้องไม่เกินห้าสิบไร่ ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการ อนุญาตหรือการให้ผู้ได้รับอนุญาตถือปฏิบัติให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
การจัดที่ดินให้เช่า หรือเช่าซื้อตาม มาตรานี้ไม่อยู่ในภายใต้บังคับแห่ง กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการเช่าหรือเช่าซื้อ และสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ ดังกล่าวจะโอนแก่กันได้หรือตกทอดทางมรดกได้เฉพาะตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
หมายเหตุ ความมเดิมใน มาตรานี้ได้ยกเลิกไป และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทนโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 10 ซึ่งประกาศในราชกิจจาฯ เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 31 ถ้าเกษตรกรผู้ใดต้องการมีสิทธิในที่ดิน หรือขอเช่าที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมเกินกว่าที่กำหนดไว้ตาม มาตรา 30 (1) หรือ (2) และแสดง ได้ว่าตนมีความสามารถและมีปัจจัยที่จะทำที่ดินที่ขอเพิ่มนั้นให้เป็นประโยชน์ใน ทางเกษตรกรรมได้ ทั้งตนจะเป็นผู้ประกอบเกษตรกรรมในที่ดินนั้นด้วยตนเอง ให้ทำคำร้อง ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งแสดงหลักฐานอ้างอิงประกอบ คำร้อง
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนแล้ว ให้เสนอคำร้องพร้อมด้วยบันทึก รายงานผลการสอบสวนต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้ผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิในที่ดินหรือได้ เช่าที่ดินได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนเนื้อที่ ที่ดินที่กำหนดไว้ตาม มาตรา 30 (1) หรือ (2) ทั้งนี้โดยกำหนดเงื่อนไข ก็ได้ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข คณะกรรมการมีอำนาจสั่ง เพิกถอนการอนุญาตเสียได้และจัดซื้อ หรือดำเนินการเวนคืนที่ดินหรือสั่งเลิก การเช่าที่ดินดังกล่าวได้ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามแต่จะเห็นสมควร และ นำที่ดินนั้นไปใช้เพื่อการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป
มาตรา 32 ถ้า ส.ป.ก. ได้ที่ดินแปลงใดมาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน หรือได้มาตาม มาตรา 25ทวิ เพื่อใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ สิทธิของผู้เช่าที่ดินแปลงนั้นตามสัญญาเช่าหรือตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมเป็นอันสิ้นสุดลง
หมายเหตุ ความเดิมในมาตรานี้ได้ยกเลิกไป และให้ใช้ความต่อไปนี้ แทนโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 11 ซึ่งประกาศในราชกิจจาฯ เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 33 เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฎิรูปที่ดินใช้บังคับใน ท้องที่ใดแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้บรรดาเจ้าของที่ดินที่มีที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมที่อยู่ในเขตปฎิรูปที่ดินแจ้งจำนวนแปลงที่ดิน ขนาดของที่ดินแต่ ละแปลง ที่ตั้งของที่ดิน และการทำประโยชน์ในที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของทุกแปลง ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน ตามแบบและวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 34 ในการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อการปฎิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริม ทรัพย์มาใช้การบังคับโดยอนุโลม
สำหรับที่ดินที่เวนคืนตามวรรคหนึ่ง ให้ ส.ป.ก.หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมาย จาก ส.ป.ก.มีอำนาจเข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวเพื่อดำเนินการปฎิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมได้ทันที
มาตรา 35 การชำระราคาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่จัดซื้อตามพระราช บัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสดหรือเงินสดและพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
การชำระค่าทดแทนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้จ่ายเป็นเงินสดส่วนหนึ่ง และส่วนที่เหลือให้จ่ายเป็นพันธบัตรของรัฐบาล ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี มีอำนาจออกพันธบัตร เพื่อ ชำระราคาหรือค่าทดแทนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และมีอำนาจกำหนด อัตราดอกเบี้ยระยะเวลาไถ่ถอน เงื่อนไข และวิธีการในการออกพันธบัตร ทั้งนี้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พันธบัตรตามวรรคสามเมื่อครบกำหนดชำระให้ชำระจากเงินของกองทุน การปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
มาตรา 36 มาตรา 36 ให้คณะกรรมการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงการได้มา สภาพความอุดมสมบูรณ์ และทำเลที่ตั้งของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ประกอบ กับมูลค่าของผลิตผลเกษตรกรรมหลักที่สามารถผลิตได้จากที่ดินในท้องที่นั้นทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคมและแก่บรรดาเกษตรกรผู้ที่จะต้องรับภาระ จ่ายค่าที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์แก่ ส.ป.ก.ต่อไปด้วย
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งจำนวนเงินค่าทดแทน ให้เจ้าของที่ดิน หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนทราบ ถ้าเจ้าของที่ดินหรือผู้มีสิทธิได้รับ ค่าทดแทนไม่เห็นชอบด้วยกับจำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าวมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม มาตรา 40
หมายเหตุ ความเดิมในวรรคสามนี้ได้ยกเลิกไปแล้วโดย พระราช บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 12 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 36ทวิ บรรดาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ ส.ป.ก.ได้มา ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือได้มาโดยประการอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ให้ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ และให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิเพื่อใช้ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายที่ดินมีอำนาจออกหนังสือแสดง สิทธิในที่ดินเกี่ยวกับที่ดินของ ส.ป.ก.ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตามที่ ส.ป.ก. ร้องขอ
หมายเหตุ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น มาตรา 36ทวิ โดย พ.ร.บ.แก้ไข เพิ่มเติมพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2532 แก้ไขใน มาตรา 13 ซึ่งประกาศในราชกิจจาฯ เล่มที่ 106 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2532
มาตรา 37 ห้ามมิให้ยกอายุความครอบครองขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับ ส.ป.ก. ในเรื่องที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก.ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 38 ถ้า ส.ป.ก.เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จด ทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในการ ปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ ส.ป.ก.ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการ จดทะเบียนนั้น
มาตรา 39 ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะ ทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอด ทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ภายในเขตปฎิรูปที่ดิน
มาตรา 40 ถ้าเจ้าของที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์หรือผู้มีสิทธิได้รับเงินค่า ทดแทนผู้ใดประสงค์จะอุทธรณ์ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายในสาม สิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตาม
มาตรา 41 ให้มีคณะกรรมการอุทธรณ์คณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัด กระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมายหนึ่งคน ผู้ทรงคุณวุฒิทางดินหนึ่งคนผู้ทรงคุณวุฒิทางเศรษฐกิจการเกษตรหนึ่งคน ผู้ทรง คุณวุฒิทางพืชพรรณหนึ่งคน เป็นกรรมการ ให้ประธานกรรมการแต่งตั้งกรรม การหรือบุคคลใดเป็นเลขานุการคณะกรรมการ
ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการอุทธรณ์ กรรมการผู้ทรง คุณวุฒิจะเป็นกรรมการ หรืออนุกรรมการในคณะกรรมการหรือคณะกรรมการ ปฎิรูปที่ดินจังหวัดมิได้
มาตรา 42 ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยคำ อุทธรณ์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ให้ เสร็จสิ้นภายในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์
หากผู้อุทธรณ์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้ ภายในกำหนดหนึ่งเดือนในกรณีที่ยังมิได้มีการตั้งศาลปกครองตามบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญ มิให้นำข้อความดังกล่าวนี้มาใช้บังคับ
มาตรา 43 ให้คณะกรรมการอุทธรณ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น คณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อกระทำการที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการอุทธรณ์ หรือให้ช่วยเหลือในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้เว้นแต่การวินิจฉัยอุทธรณ์ และให้นำ มาตรา 17 และ มาตรา 18 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 44 ให้กรรมการอุทธรณ์ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ใน ตำแหน่งคราวละสองปีกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้ง เป็นกรรมการอีกได้
ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมอุทธรณ์ ระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว ยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งซ่อมนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่ เหลืออยู่ของกรรมการอุทธรณ์ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น
มาตรา 45 ให้นำ มาตรา 16 มาตรา 17 และ มาตรา 18 มาใช้แก่คณะ กรรมการอุทธรณ์โดยอนุโลม
มาตรา 46 หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์ และวิธีพิจารณาใน การวินิจฉัยคำอุทธรณ์ ให้กำหนดโดยกฎกระทรวง
มาตรา 47 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนายความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม มาตรา 23 หรือ มาตรา 27 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 48 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีซึ่งออกตาม มาตรา 33 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศ ใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ประเทศไทยได้จัดให้ มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมาระยะหนึ่งแล้ว แต่การดำเนินการยังมีอุปสรรคทำให้ การงานไม่อาจดำเนินไปโดยเหมาะสมตามควร สมควรขยายขอบเขตการจัดที่ดินใน การปฏิรูปที่ดินให้กว้างขวางขึ้นให้สามารถ ช่วยเหลือผู้ที่ประสงค์จะเป็นเกษตรกรได้ และ อาจจัดที่ดินให้แก่ผู้ประกอบกิจการสนับสนุนและต่อเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินได้ด้วย เพื่อให้ งานดำเนินไปครบวงจรของภาคเกษตรกรรม นอกจากนั้น ในการจัดหาที่ดินมาดำเนิน การปฏิรูปที่ดินได้มีปัญหาว่าจะจัดซื้อที่ดินจากผู้ที่สมัครใจขายได้หมดทั้งแปลงหรือไม่ และ การนำที่ดินของรัฐมาใช้จัดที่ดินมีปัญหาว่า ยังไม่มีแนวทางที่แน่ชัดระหว่างหน่วยงานที่ รับผิดชอบเกิดปัญหาว่า ส.ป.ก. สมควรจะนำที่ดินส่วนใดมาใช้จัดได้เมื่อใดและเพียงใด ทั้งยังมีข้อจำกัดที่ ส.ป.ก. จะเข้าดำเนินการในที่ดินที่มีผู้ประสงค์บริจาค เพราะที่ดินนั้น ต้องกลายเป็นที่ราชพัสดุและที่ดินอาจมีขนาดไม่กว้างมาก ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะกำหนดเป็น เขตปฏิรูปที่ดินเล็ก ๆ โดยพระราชกฤษฎีกาหลายฉบับ ส่วนในขั้นนำที่ดินมาจัดให้แก่ ประชาชนนั้น กฎหมายปัจจุบันได้แยกข้อแตกต่างระหว่างที่ดินที่เป็นของรัฐมาแต่เดิมกับที่ดิน ที่ได้มาโดยการจัดซื้อหรือเวนคืน ทำให้ไม่อาจจัดสิทธิในที่ดินให้แก่ประชาชนให้สอดคล้อง กัน สมควรแก้ไขโดยคำนึงถึงเป้าหมายและความต้องการของผู้ขอรับการจัดที่ดินเป็นสำคัญ เพื่อให้สิทธิในที่ดินมีส่วนเกื้อหนุนสภาพความเป็นอยู่ในภาคเกษตรกรรมตามความเป็นจริง อนึ่งองค์ประกอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน จังหวัด และแนวทางในการกำหนดเขตปฏิรูปที่ดินยังไม่เหมาะสมสมควรแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายปัจจุบันเสียใหม่ ในคำจำกัดความของคำว่า " เกษตรกร "จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
[ร.จ.เล่ม 106 ตอนที่ 149 หน้า 12 8 กันยายน 2532]